วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

Copper wire Analysis วิเคราะห์ความเสียหายสายไฟทองแดง วิเคราะห์รอยสปาร์ค รอยไหม้ และออกไซด์

วิเคราะห์ความเสียหายสายไฟทองแดง copper wire วิเคราะห์รอยสปาร์ค รอยไหม้ และออกไซด์
ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM และเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS/EDX 


ตัวอย่างที่เราทดสอบ เป็นตัวอย่างที่เกิดปัญหาจากการใช้งานจริง เป็นสายไฟต่อจากหม้อไฟ
ขนาด 30/100 Amp.(มิเตอร์) เชื่อมเข้าบ้าน ผ่านการใช้งานมา 8 ปีเต็ม และมีปัญหาเกิดการ
สปาร์คที่มิเตอร์ และไฟตก ไฟไม่นิ่ง เวลาเปิดไฟในบ้านจะสังเกตุว่าหลอดไฟนีออนกระพริบ
สาเหตุเกิดจากมีช่างต่อเติมบ้าน และใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้า ที่กินกระแสมาก ทำให้ช่างต้องต่อ
ไฟเครื่องเชื่อม โดยตรงหลังมิเตอร์ไฟ ต่อโดยหมุนน็อตหลังมิเตอร์ออก ณ.ตำแหน่งไฟออก
2 สองเส้น L-N ให้หลวม แล้วก็ต่อไฟเครื่องเชื่อมเข้าไป หลังใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้าเสร็จ ก็ถอด
สายไฟเครื่องเชื่อมออก แล้วไม่ขันน็อตสายไฟฟ้าเข้าบ้านเราคืน ทำให้สายไฟหลวม เกิดการ
สปาร์ค ไฟตก แต่ออกอาการหลังจากนั้น 3-4 ปีให้หลัง

ตามตัวอย่างสายไฟทองแดง ตามภาพล่าง เราจะมาวิเคราะห์กันทั้งหมด 3 จุด ,P1 บริเวณที่
ห่างจากปลายสายประมาณ 1.5 นิ้ว เป็นตำแหน่งมีปัญหาน้อยสุด ,P2 เป็นตำแหน่งเกิดจาก
สปาร์ค ,P3 เป็นบริเวณที่เกิดออกไซด์ และเป็นตำแหน่งน็อตยึดสายไฟของมิเตอร์(ขาออก)

ตามภาพเป็นภาพสายทองแดง Copper wire ตำแน่ง P1
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 50 เท่า สเกล 500 um (ไมครอน ) หรือ 0.5 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพเป็นภาพสายทองแดง Copper wire ตำแน่ง P1
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 1000 เท่า สเกล 10 um (ไมครอน ) หรือ 0.01 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com




วิเคราะห์สายทองแดง Copper wire Analysis ด้วยเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS/EDX วิเคราะห์สายทองแดง Copper wire เชิงคุณภาพ Qualitative Analysis ณ.ตำแหน่ง P1

ตามภาพบนที่กำลังขยาย 1000 เท่าเราจะวิเคราะห์ด้านเชิงคุณภาพ ทั้งภาพที่แสดง
ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จะได้ผลเป็นกราฟเชิงคุณภาพเหมือนภาพล่าง

เราจะได้ผลว่ามีองค์ประกอบธาตุหรือสาร C คาร์บอน,O ออกซิเจน,Ca แคลเซียม
,Cl ครอรีน และ Cu ทองแดง อยู่บนพื้นที่ที่เราวิเคราะห์ ตามภาพด้านบน 

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX คลิก

กราฟเชิงคุณภาพแบบที่ 1 ตำแน่ง P1



กราฟเชิงคุณภาพแบบที่ 2 ตำแน่ง P1

จากผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เราทราบแล้วว่ามีธาตุอะไรบ้าง แต่ยังไม่ทราบว่า
มีปริมาณธาตุใดๆอยู่เท่าไร เราจะมาวิเคราะห์เชิงปริมาณกันต่อ
วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ Qualitative Analysis การวิเคราะห์เชิงปริมาณ เราจะได้ค่าเป็น Element % หรือเรียกอีกชื่อ Wt% (weight %)
หรืออีกชื่อ Con% (concentration%) และ Atomic% 

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX คลิก

ตามภาพล่างจะวิเคราะห์เชิงปริมาณแบบ
Quantitative method: ZAF ( 4 iterations).
 Analysed all elements and normalised results.

ตามผลด้านล่างเราจะวิเคราะห์ธาตุทั้งหมด ที่ตรวจพบเจอในสายทองแดง Copper wire 
ซึ่งเราจะได้องค์ประกอบธาตุหรือสาร
C คาร์บอน 0.45 % ,O ออกซิเจน 18.89 %,Ca แคลเซียม
0.54 %  ,Cl ครอรีน 6.79 % และ Cu ทองแดง 73.33 %

ตามภาพล่างจะวิเคราะห์เชิงปริมาณแบบ 
Quantitative method: ZAF ( 3 iterations).
 Analysed elements combined with: O ( Valency: -2)
 Method : Stoichiometry Normalised results.
 Nos. of ions calculation based on  1 cations per formula.
(Condition เดียวกันกับด้านบนแต่เปลี่ยน Method )
จะได้ ค่าธาตุ อยู่ในรูปแบบคอมพาวด์ออกไซด์Compound % การอ่านผลยกตัวอย่าง
จะได้ปริมาณ แคลเซียมออกไซด์ CaO 0.69% ค็อปเปอร์ออกไซด์ CuO 84.80%




ตามภาพเป็นภาพสายทองแดง Copper wire ตำแน่ง P2 (ตำแหน่งเกิดการสปาร์ค/อาร์ค)
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 50 เท่า สเกล 500 um (ไมครอน ) หรือ 0.5 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com



ตามภาพเป็นภาพสายทองแดง Copper wire ตำแน่ง P2 (ตำแหน่งเกิดการสปาร์ค/อาร์ค)
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 1,000 เท่า สเกล 10 um (ไมครอน ) หรือ 0.01 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com


วิเคราะห์สายทองแดง Copper wire Analysis ด้วยเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS/EDX วิเคราะห์สายทองแดง Copper wire เชิงคุณภาพ Qualitative Analysis ณ.ตำแหน่ง P2

ตามภาพบนที่กำลังขยาย 1000 เท่าเราจะวิเคราะห์ด้านเชิงคุณภาพ ทั้งภาพที่แสดง
ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จะได้ผลเป็นกราฟเชิงคุณภาพเหมือนภาพล่าง

เราจะได้ผลว่ามีองค์ประกอบธาตุหรือสาร C คาร์บอน,O ออกซิเจน,Ca แคลเซียม
,Cl ครอรีน ,Si ซิลิกอน และ Cu ทองแดง อยู่บนพื้นที่ที่เราวิเคราะห์ ตามภาพด้านบน

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX คลิก

กราฟเชิงคุณภาพแบบที่ 1 ตำแน่ง P2



กราฟเชิงคุณภาพแบบที่ 2 ตำแน่ง P2

จากผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เราทราบแล้วว่ามีธาตุอะไรบ้าง แต่ยังไม่ทราบว่า
มีปริมาณธาตุใดๆอยู่เท่าไร เราจะมาวิเคราะห์เชิงปริมาณกันต่อ
วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ Qualitative Analysis การวิเคราะห์เชิงปริมาณ เราจะได้ค่าเป็น Element % หรือเรียกอีกชื่อ Wt% (weight %)
หรืออีกชื่อ Con% (concentration%) และ Atomic% 

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX คลิก

ตามภาพล่างจะวิเคราะห์เชิงปริมาณแบบ
Quantitative method: ZAF ( 4 iterations).
 Analysed all elements and normalised results.

ตามผลด้านล่างเราจะวิเคราะห์ธาตุทั้งหมด ที่ตรวจพบเจอในสายทองแดง Copper wire 
ซึ่งเราจะได้องค์ประกอบธาตุหรือสาร
C คาร์บอน 0.62 % ,O ออกซิเจน 18.54 %,Ca แคลเซียม
1.22 %  ,Cl ครอรีน 3.23 % ,Si ซิลิกอน 0.25% และ Cu ทองแดง 76.14 %
ตามภาพล่างจะวิเคราะห์เชิงปริมาณแบบ 
Quantitative method: ZAF ( 3 iterations).
 Analysed elements combined with: O ( Valency: -2)
 Method : Stoichiometry Normalised results.
 Nos. of ions calculation based on  1 cations per formula.
(Condition เดียวกันกับด้านบนแต่เปลี่ยน Method )
จะได้ ค่าธาตุ อยู่ในรูปแบบคอมพาวด์ออกไซด์Compound % การอ่านผลยกตัวอย่าง
จะได้ปริมาณ แคลเซียมออกไซด์ CaO 1.53% ค็อปเปอร์ออกไซด์ CuO 86.54%


ตามภาพเป็นภาพสายทองแดง Copper wire ตำแน่ง P3 (ตำแหน่งเกิดออกไซด์)
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 50 เท่า สเกล 500 um (ไมครอน ) หรือ 0.5 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com



ตามภาพเป็นภาพสายทองแดง Copper wire ตำแน่ง P3 (ตำแหน่งเกิดออกไซด์)
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 1,000 เท่า สเกล 10 um (ไมครอน ) หรือ 0.01 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com



วิเคราะห์สายทองแดง Copper wire Analysis ด้วยเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS/EDX วิเคราะห์สายทองแดง Copper wire เชิงคุณภาพ Qualitative Analysis ณ.ตำแหน่ง P3

ตามภาพบนที่กำลังขยาย 1000 เท่าเราจะวิเคราะห์ด้านเชิงคุณภาพ ทั้งภาพที่แสดง
ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จะได้ผลเป็นกราฟเชิงคุณภาพเหมือนภาพล่าง

เราจะได้ผลว่ามีองค์ประกอบธาตุหรือสาร C คาร์บอน,O ออกซิเจน,Ca แคลเซียม
,Cl ครอรีน ,Si ซิลิกอน ,Fe เหล็ก และ Cu ทองแดง อยู่บนพื้นที่ที่เราวิเคราะห์ 
ตามภาพด้านบน 

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX คลิก

กราฟเชิงคุณภาพแบบที่ 1 ตำแน่ง P3


กราฟเชิงคุณภาพแบบที่ 2 ตำแน่ง P3
จากผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เราทราบแล้วว่ามีธาตุอะไรบ้าง แต่ยังไม่ทราบว่า
มีปริมาณธาตุใดๆอยู่เท่าไร เราจะมาวิเคราะห์เชิงปริมาณกันต่อ
วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ Qualitative Analysis การวิเคราะห์เชิงปริมาณ เราจะได้ค่าเป็น Element % หรือเรียกอีกชื่อ Wt% (weight %)
หรืออีกชื่อ Con% (concentration%) และ Atomic% 

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX คลิก

ตามภาพล่างจะวิเคราะห์เชิงปริมาณแบบ
Quantitative method: ZAF ( 4 iterations).
 Analysed all elements and normalised results.

ตามผลด้านล่างเราจะวิเคราะห์ธาตุทั้งหมด ที่ตรวจพบเจอในสายทองแดง Copper wire 
ซึ่งเราจะได้องค์ประกอบธาตุหรือสาร
C คาร์บอน 1.85 % ,O ออกซิเจน 22.89 %,Ca แคลเซียม 0.41 %  ,Cl ครอรีน 
13.22 % ,Si ซิลิกอน 0.18%, Fe เหล็ก 0.20% และ Cu ทองแดง 61.25 %

ตามภาพล่างจะวิเคราะห์เชิงปริมาณแบบ 
Quantitative method: ZAF ( 3 iterations).
 Analysed elements combined with: O ( Valency: -2)
 Method : Stoichiometry Normalised results.
 Nos. of ions calculation based on  1 cations per formula.
(Condition เดียวกันกับด้านบนแต่เปลี่ยน Method )
จะได้ ค่าธาตุ อยู่ในรูปแบบคอมพาวด์ออกไซด์Compound % การอ่านผลยกตัวอย่าง
จะได้ปริมาณ แคลเซียมออกไซด์ CaO 0.52% ค็อปเปอร์ออกไซด์ CuO 71.04%

ความแตกต่างระหว่างตำแหน่งที่ P1 และ P2 จะมีซิลิกอน Si เพิ่มขึ้นมา และตำแหน่ง P3
จะมี Fe เพิ่มขึ้นมา ส่วนปริมาณธาตุที่เหมือนกันจะมีปริมาณมากน้อยแตกต่างกันตามตำแหน่ง

หมั่นสำรวจดูหม้อแปลงมิเตอร์ที่บ้านดูนะครับ ว่าสายไฟหลวมหรือเปล่า และที่สำคัญต้อง
ให้ผู้รู้ และช่างไฟเช็คให้นะครับ ไม่งั้นจะต้องเสียเวลา เปลี่ยนมิเตอร์ใหม่เหมือนผมก็ได้
ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายประมาณพันกว่าบาทในการให้การไฟฟ้ามาเปลี่ยนมิเตอร์ใหม่ 
*********************************************************************
สุดท้ายขอขอบคุณ Do SEM ที่เปิดพื้นที่ให้ มากๆครับ ติดตามบทความต่อๆไปนะครับ
น้อมรับทุกคำชี้แนะครับ Mr.Golf (สิงห์เฒ่าซ่อมเซ็ม) manatsanan2007@hotmail.com
หรือมาพบปะพูดคุยได้ตามประสาได้ที่ BigC จ.สุรินทร์ (แอร์ฟรี 555 จริงๆนะครับ) หรือมา
ติดตามเป็นเพื่อนผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค ฝากคำถามได้ ตามลิงค์ด้านล่างเลยครับ
http://www.facebook.com/JeolOxfordInstruments?ref=hl

*********************************************************************
copper,copper wire,copper analysis,copper test,ทองแดง,ลวดทองแดง,สายไฟทองแดง,
วิเคราะห์ทองแดง,ทดสอบทองแดง,Cu
บทความน่าสนใจอื่นๆ 
สถานที่ให้และรับบริการ SEM,EDS : ใกล้ฟิวเจอร์รังสิต และดรีมเวิลด์
Do SEM บริการเครื่อง SEM กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด

วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

Salt เกลือสินเธาว์ เกลือธรรมชาติ

เกลือสินเธาว์ เกลือธรรมชาติ

ข้อดีเกลือสินเธาว์เป็นเกลือที่เหมาะใช้ในการอุตสาหกรรม เพราะมีความชื้น และแมกนีเซียม
(Mg) แคลเซียม (Ca) ค่อนข้างต่ำ
ข้อเสียเกลือสินเธาว์ ไม่มีไอโอดีน (I) เหมือนเกลือทะเลหรือ เกลือสมุทร (Sea Salt) 
ถ้าขาดไอโอดีนจะเป็นโรคคอพอก และถ้าขาดตั้งแต่ยังเด็ก ร่างกายจะแคระแกร็น สติปัญญา
ต่ำ หูหนวก เป็นใบ้ ตาเหล่และอัมพาต แต่พอเราจะบริโภค ในทางการค้า เขาจะต้องผสม
ไอโอดีนเข้าไปด้วย
จึงเป็นที่มาของบทความนี้ ที่เราจะศึกษาหาองค์ประกอบของธาตุ ไอโอดีน ที่ผสมเข้าไปใน
ขั้นตอนขบวนการผลิต และศึกษาองค์ประกอบธาตุ NaCl โซเดียมครอไรด์ (เกลือแกง) ด้วย
เครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS/EDX

และศึกษาผลึกเกลือด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM




เกลือสินเธาว์ผลิตได้จากแร่เกลือ ( Rock salt ) พบอยู่ตามพื้นดินแถบภาคอีสาน
เช่น จังหวัดชัยภูมิ มหาสารคราม ยโสธร อุบลราชธานี และอุดรธานี
        การผลิตเกลือสินเธาว์จากเกลือหินโดยทั่วไปใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ
ใช้การละลาย การกรอง การระเหย และการตกผลึก หรือการละลายและการตกผลึก หรือการ
ละลายและการตกผลึก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของเกลือที่เกิดขึ้นในแหล่งนั้นๆ

ตามภาพล่างเป็นลักษณะเกลือได้จากธรรมชาติ ที่เรานำมาเป็นตัวอย่าง
ดูแล้วลักษณะเหมือนน้ำตาลมากๆ แต่ไม่ใช่ ถ้าไม่ผ่านการชิมคงคิดว่าน้ำตาลแน่ๆ



1. เกลือจากผิวดิน ทำได้โดยขุดคราบเกลือจากผิวดินมาละลายน้ำกรองเศษดินและกาก
ตะกอนออก ผสมน้ำและนำน้ำเกลือไปเคี่ยวให้แห้งจะได้ผลึกเกลือ
2. เกลือจากน้ำเกลือบาดาล น้ำเกลือบาดาลจะอยู่ลึกจากพื้นดินหลายระดับ อาจจะเป็น
5-30 เมตร การผลิตทำได้โดยการขุดเจาะลงไปถึงระดับน้ำเกลือบาดาลและสูบน้ำเกลือ
ขึ้นมานำไปต้มหรือตากจะได้เกลือตกผลึกออกมา
3. เกลือจากเกลือหิน

ลักษณะผลึกเกลือแบบต่างๆที่ศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM กำลังขยายสูง


ตามภาพเป็นภาพเกลือ Salt 
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 10kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 50 เท่า สเกล 500 um (ไมครอน ) หรือ 0.5 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ตัวอย่างเกลือ Salt ฉาบเคลือบด้วยทอง,ให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com



ตามภาพเป็นภาพเกลือ Salt 
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 10kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 100 เท่า สเกล 100 um (ไมครอน ) หรือ 0.1 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ตัวอย่างเกลือ Salt ฉาบเคลือบด้วยทอง,ให้นำไฟฟ้าได้
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com



ตามภาพเป็นภาพเกลือ Salt 
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 10kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 150 เท่า สเกล 100 um (ไมครอน ) หรือ 0.1 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ตัวอย่างเกลือ Salt ฉาบเคลือบด้วยทอง,ให้นำไฟฟ้าได้
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com


ตามภาพเป็นภาพเกลือ Salt 
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 10kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 200 เท่า สเกล 100 um (ไมครอน ) หรือ 0.1 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ตัวอย่างเกลือ Salt ฉาบเคลือบด้วยทอง,ให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com


ตามภาพเป็นภาพเกลือ Salt 
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 10kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 750 เท่า สเกล 10 um (ไมครอน ) หรือ 0.01 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ตัวอย่างเกลือ Salt ฉาบเคลือบด้วยทอง,ให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com


ามภาพเป็นภาพเกลือ Salt 
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 10kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 1000 เท่า สเกล 10 um (ไมครอน ) หรือ 0.01 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ตัวอย่างเกลือ Salt ฉาบเคลือบด้วยทอง,ให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com



หลังจากดูภาพแล้ว เราจะเห็นลักษณะผลึกเกลือ รูปร่างเกลือ อยู่ลักษณะใดกันบ้างแล้ว
แต่เราไม่ทราบว่ามีองค์ประกอบธาตุอะไรกันบ้าง และแต่ละธาตุมีปริมาณเท่าใด
เราจะวิเคราะห์กันต่อครับเพื่อหาคำตอบ ด้วยเครื่องวิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ/คุณภาพ

วิเคราะห์เกลือ Salt Analysis ด้วยเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS/EDX 
วิเคราะห์เกลือเชิงคุณภาพ Qualitative Analysis

ตามภาพบนที่กำลังขยาย 1000 เท่าเราจะวิเคราะห์ด้านเชิงคุณภาพ ทั้งภาพที่แสดง
ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จะได้ผลเป็นกราฟเชิงคุณภาพเหมือนภาพล่าง

เราจะได้ผลว่ามีองค์ประกอบธาตุหรือสาร C คาร์บอน,O ออกซิเจน,Ca แคลเซียม
,Cl ครอรีน และ Na โซเดียม อยู่บนพื้นที่ที่เราวิเคราะห์ ตามภาพด้านบน

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX คลิก

กราฟเชิงคุณภาพแบบที่ 1
 
กราฟเชิงคุณภาพแบบที่ 2


จากผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เราทราบแล้วว่ามีธาตุอะไรบ้าง แต่ยังไม่ทราบว่า 
มีปริมาณธาตุใดๆอยู่เท่าไร เราจะมาวิเคราะห์เชิงปริมาณกันต่อ
วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ Qualitative Analysis การวิเคราะห์เชิงปริมาณ เราจะได้ค่าเป็น Element % หรือเรียกอีกชื่อ Wt% (weight %)
หรืออีกชื่อ Con% (concentration%) และ Atomic% 

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX คลิก

ตามภาพล่างจะวิเคราะห์เชิงปริมาณแบบ
Quantitative method: ZAF ( 4 iterations).
 Analysed all elements and normalised results.

ตามผลด้านล่างเราจะวิเคราะห์ธาตุทั้งหมด ที่ตรวจพบเจอในเกลือ ซึ่งเราจะได้
องค์ประกอบธาตุหรือสาร C คาร์บอน 2.27% ,O ออกซิเจน 4.33%,Ca แคลเซียม
0.21% ,Ru รูทีเนียม 3.46% ,Cl ครอรีน 59.60% และ Na โซเดียม 30.13%



เราวิเคราะห์เชิงปริมาณอีกครั้ง เลือกเฉพาะ NaCl เกลือแกง และ ไอโอดีน I
เราจะได้ NaCl เกลือแกง 99.87%  และ I ไอโอดีน 0.13 % ซึ่งเมื่อเทียบกับ
ค่าข้างขวดที่ซื้อมาทดสอบ ได้ค่าที่ใกล้เคียงกันมาก (ไม่เป็นคอพอกแล้วเรา)



เมื่อบทความนี้ เป็นเกลือที่จะต้องเติมไอโอดีนเข้าไป รอบทความหน้าเราจะมาดู 
ผลึก และวิเคราะห์ธาตุกับตัวอย่างที่เป็นเกลือสมุทร ที่มีไอโอดีน โดยที่ไม่ต้องเพิ่ม
เสริมเข้า
ไปกันบ้างครับ ติดตามกันนะครับ
*********************************************************************
สุดท้ายขอขอบคุณ Do SEM ที่เปิดพื้นที่ให้ มากๆครับ ติดตามบทความต่อๆไปนะครับ
น้อมรับทุกคำชี้แนะครับ Mr.Golf (สิงห์เฒ่าซ่อมเซ็ม) manatsanan2007@hotmail.com
หรือมาพบปะพูดคุยได้ตามประสาได้ที่ BigC จ.สุรินทร์ (แอร์ฟรี 555 จริงๆนะครับ) หรือมา
ติดตามเป็นเพื่อนผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค ฝากคำถามได้ ตามลิงค์ด้านล่างเลยครับ
http://www.facebook.com/JeolOxfordInstruments?ref=hl

********************************************************************* 
เกลือ,เกลือธรรมชาติ,เกลือสินเธาว์,วิเคราะห์เกลือ,ทดสอบเกลือ,salt analysis,salt,NaCl,โซเดียมครอไรด์

บทความน่าสนใจอื่นๆ 

สถานที่ให้และรับบริการ SEM,EDS : ใกล้ฟิวเจอร์รังสิต และดรีมเวิลด์
Do SEM บริการเครื่อง SEM กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด