เคยสงสัยกันบ้างไหมว่า ทำไมผงชูรส และผงปรุงรส ใส่ในอาหารแล้วทำให้รสชาดดีขึ้น แต่บางคนบอกทานมากทำให้หัวล้าน 5555 หรือบางคนบอกว่าทานแล้วมีปัญหากับร่างกาย เรามาไขคำตอบผงชูรส และผงปรุงรส ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM และเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS/EDX กันค่ะ
(ชูรส และผงปรุงรส ที่นำมาวิเคราะห์ไม่ระบุยี่ห้อ มาเป็นตัวอย่าง 5 ยี่ห้อ ลับสุดๆค่ะ 007 เปล่าเนี้ย)
สารผงชูรส และผงปรุงรสในบ้านเรา นิยมใช้กันตามครัวเรือน และร้านอาหารกันเยอะมากๆในบ้านเรา แต่ก็มีส่วนหนึ่งไม่นิยมสารชูรส และผงปรุงรสแต่ก็เป็นส่วนน้อยค่ะ ทั้งสองอย่างถ้าอยู่ในครัวเมื่อไร แสดงว่าแม่ครัวพ่อครัวต้องการอาหารที่ปรุงนั้นมีรสชาดที่ดีขึ้น
สารชูรส และผงปรุงรส นอกจากจะทำให้อาหารอร่อย มันจะมีสารและแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกายอยู่ด้วยนะค่ะ
เรามาดูสารและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายทั่วๆไป ที่ยังไม่เกี่ยวกับผงชูรส และผงปรุงรส กันก่อนนะค่ะ
แสดงแหล่งอาหารที่ให้ธาตุ ประโยชน์ และโรคหรืออาการเมื่อขาดธาตุ
1. Na โซเดียม
หน้าที่/ประโยชน์ : 1.ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท 2.รักษาปริมาณน้ำในเซลล์ให้คงที่ 3.รักษาความเป็นกรด – ด่างของร่างกายให้อยู่ในสภาพสมดุล
แหล่งอาหาร : เกลือแกง อาหารทะเล อาหารหมักดอง ไข่ นม เนย แข็ง ผักสีเขียว
โรค/อาการเมื่อขาดแร่ธาตุ : 1.โรคประสาทเสื่อม2.กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย
2. Fe เหล็ก
หน้าที่/ประโยชน์ : 1.เป็นส่วนประกอบของเฮโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง 2.เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ในการหายใจ
แหล่งอาหาร : เนื้อสัตว์ ตับ เครื่องในสัตย์ ไข่แดง และผักสีเขียว
โรค/อาการเมื่อขาดแร่ธาตุ : 1.โรคโลหิตจาง 2.เล็บเปราะหักง่าย เส้นผมหลุดร่วงง่าย 3.อ่อนเพลีย ซึม
3. ไอโอดีน
หน้าที่/ประโยชน์ : 1.เป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนไทรอกซินที่อยู่ในต่อมไทรอยด์ป้องกันโรคคอพอก
แหล่งอาหาร : อาหารทะเล เกลือสมุทร เกลืออนามัย
โรค/อาการเมื่อขาดแร่ธาตุ : 1.โรคคอพอก2.ร่างกายแคระแกร็น
4. Cu ทองแดง
หน้าที่/ประโยชน์ : 1.ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก 2.ช่วยสร้างเฮโมโกบิลในเม็ดเลือดแดง 3.เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์บางชนิด
แหล่งอาหาร : เครื่องในสัตว์ ไก่ หอยนางรม พืชผักและผลไม้
โรค/อาการเมื่อขาดแร่ธาตุ : มักพบในทารกที่คลอดก่อนกำหนด และมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 1,500 กรัมจะเกิดภาวะโลหิตจาง อ่อนเพลีย หายใจผิดปกติ
5. Mg แมงกานีส
หน้าที่/ประโยชน์ : กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์
แหล่งอาหาร : กระดูก ตับ สันหลัง ธัญญาพืช
โรค/อาการเมื่อขาดแร่ธาตุ : 1.ทำให้เป็นอัมพาตได้ 2.อาการชักในเด็ก 3.เวียนศรีษะและไม่สามารถได้ยิน
6. S กำมะถัน
หน้าที่/ประโยชน์ : 1.สร้างโปรตีนในร่างกาย2.สร้างกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ
แหล่งอาหาร : เนื้อสัตว์นมไข่
โรค/อาการเมื่อขาดแร่ธาตุ : ยังไม่ทราบแน่ชัด
7. Ca แคลเซียม
หน้าที่/ประโยชน์ : 1.เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระดุกและฟัน 2.ควบคุมการทำงานของหัวใจกล้ามเนื้อและระบบประสาท 3.เป็นธาตุที่สำคัญช่วยในการแข็งตัวของเลือด
แหล่งอาหาร : เนื้อ นม ไข่ ปลากินได้ทั้งกระดูก กุ้งฝอย และผักสีเขียวเข้ม
โรค/อาการเมื่อขาดแร่ธาตุ : 1.โรคกระดูกอ่อนและฟันผุ2.เลือดออกง่ายและแข็งตัวช้า
8. K โพแทสเซียม
หน้าที่/ประโยชน์ : 1.ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ 2.ควบคุมการทำงานของระบบประสาท 3.รักษาปริมาณน้ำในเซลล์ให้คงที่
แหล่งอาหาร : เนื้อสัตว์ นม ไข่ งา ข้าว เห็ดผักสีเขียวและผลไม้บางชนิด
โรค/อาการเมื่อขาดแร่ธาตุ : 1.ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนเพลียและหัวใจวาย
9. P ฟอสฟอรัส
หน้าที่/ประโยชน์ : 1.เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระดูกและฟัน 2.ช่วยสร้างเอนไซม์ที่มีโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต 3.ช่วยสร้างเซลล์สมองและประสาท
แหล่งอาหาร : เนื้อ นม ไข่ ปลากินได้ทั้งกระดูก กุ้งฝอย และผักต่างๆ
โรค/อาการเมื่อขาดแร่ธาตุ : 1.โรคกระดูกอ่อนและฟันผุ2.การเจริญเติบโตช้า
10. Zn ซิงค์ หรือสังกสี
หน้าที่/ประโยชน์ : เพิ่มจำนวนอสุจิ ช่วยการทำงานของเอนไซม์ (น้ำย่อย) นับร้อยๆ ชนิด เช่น ทำให้ประสาทรับกลิ่นดี , เสริมภูมิต้านทานโรค, ช่วยสร้างและซ่อมแซม DNA ฯลฯ
แหล่งอาหาร : หอยนางรม เนื้อ ไก่ ไข่ นม-ผลิตภัณฑ์นม (มีสูงมากในนมแม่), ถั่ว (โดดเด่นในถั่วลิสง)
โรค/อาการเมื่อขาดแร่ธาตุ : โตช้า ส่วนสูงลดลง ท้องเสียบ่อย นกเขาไม่ขัน มีลูกยาก ผมร่วง ผิวหนังแก่เกินวัย ความอยากอาหารลดลง ภูมิต้านทานโรคลดลงได้
11. Si ซิลิกอน
หน้าที่/ประโยชน์ : ส่ง เสริมการทำงานของกระดูกและฟัน เล็บ ผม โดยทำงานร่วมกับแคลเซียม ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต มีความยืดหยุ่น รักษาผนังของหลอดเลือด ส่งผลต่อความดันโลหิตให้สมดุล
แหล่งอาหาร : น้ำ กระด้าง พืชผัก โดยเฉพาะที่เปลือกก้านนอกของผัก เช่น สตอรเบอรี่ แอปเบิ้ล องุ่น ลูกเกด ผลมะเดื่อ ถั่ว กระหล่ำปลี แตงกวา หัวหอม มันฝรั่ง ผักกาดหอม เมล็ดทานตะวัน นอกจากนั้น ยังพบในข้าวบาร์เลยื ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง ข้าวสาลี และนม
โรค/อาการเมื่อขาดแร่ธาตุ : มีความผิดปกติกับกระดูก ความยืดหยุ่นของหลอดเลือด เอ็น หรือแม้กระทั่งกระดูกอ่อนและกล้ามเนื้อผิดปกติ ร่วมกับอาจเกิดภาวะกระดูกพรุนได้
12. Cl ครอรีน
หน้าที่/ประโยชน์ : คลอรีนเป็นส่วนประกอบของกรดเกลือในกระเพาะอาหาร
แหล่งอาหาร : เกลือแกง และมีในพืช ผัก ผลไม้ ในธรรมชาติคลอรีนอยู่ในรูปของ คลอไรด์ไอออน (chloride ion) หรือเป็นรูปของ เกลือ
โรค/อาการเมื่อขาดแร่ธาตุ : ระบบการย่อยของกระเพาะไม่ดี แต่ร่างกายต้องการครอรีนในจำนวนน้อยมากๆเมื่อเทียบกับแร่ธาตุอื่นๆ
เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ผงชูรส และผงปรุงรสจะมีแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อยู่บ้างไหม มาดูกันค่ะเรามีคำตอบ
วิเคราะห์ผงชูรส และผงปรุงรส ด้วยเครื่องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM และเครื่องวิเคราะห์ธาตุเชิงคุณภาพและปริมาณ EDS/EDX เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่เขาใช้ทดสอบและวิเคราะห์กันค่ะ เครื่องมือตามภาพค่ะ
การนำเครื่อง SEM,Scanning electron microscope และ EDS/EDX Energy dispersive x-ray spectrometer มาวิเคราะห์อาหาร
เราจะใช้ SEM,Scanning electron microscope
แบบแรกแบบ Low vacuum Mode (สูญญากาศต่ำ) ประมาณ 20 Pa.คือไม่ต้องฉาบเคลือบทองให้นำไฟฟ้า ตัวอย่างเป็นแบบใหน มีความชื้นบ้าง ก็สามารถเอาเข้าเครื่องวิเคราะห์ได้ แต่เวลาถ่ายภาพมาจะเป็นภาพ BEI สามารถแจกแจงรายละเอียดที่ 4.5 นาโนเมตร
แบบที่สอง ที่เราจะวิเคราะห์กันค่ะ คือแบบ High Vacuum Mode (สูญญากาศสูง) ประมาณ 9.6x10-5 Pa. ตัวอย่างต้องฉาบเคลือบทองให้นำไฟฟ้า เวลาถ่ายภาพมาจะเป็นภาพ SEI สามารถแจกแจงรายละเอียดที่ 3.5 นาโนเมตร
เรามาเริ่มวิเคราะห์ด้วยผงชูรสกันค่ะ
วิเคราะห์ผงชูรส แบบ Low vacuum Mode (สูญญากาศต่ำ)
วิเคราะห์แบบนี้ ไม่ต้องเตรียมตัวอย่าง ให้ยุ่งยาก เพียงเรานำ Stub หรือแท่นวางรองตัวอย่าง ติดด้วยกาวเทปใสสองหน้าธรรมดา หรือคาร์บอนเทป ประหยัดก็ใช้เทปใสสองหน้า ติดเทปเสร็จเราก็นำผงชูรสโรยลงไปบนเทปกาว ใช้ไม่เยอะค่ะแค่ 1/8 ช้อนชา กระแทกStub ขึ้นลงให้ผงชูรสติดเทปกาวให้แน่นไม่หลุดเวลาเข้าเครื่อง
ตามภาพ ผงชูรส ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM 20kv กำลังขยาย x 50 เท่า สเกล 500 ไมครอนเมตร(0.5มิลลิเมตร)
แบบ Low vacuum Mode (สูญญากาศต่ำ)
ตามภาพ ผงชูรส ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM 20kv กำลังขยาย x 200 เท่า สเกล 100 ไมครอนเมตร(0.1มิลลิเมตร)
แบบ Low vacuum Mode (สูญญากาศต่ำ)
จากที่เราได้ภาพจากกล้อง SEM เราจะทราบขนาดของ Grain size โดยเทียบจากสเกล หรือจะใช้โปรแกรมวัดขนาด SemAfore (มีแต่ไม่วัดให้ดูค่ะ) และลักษณะรูปร่างของผงชูรส
เราจะทราบได้อย่างไรค่ะ ว่าผงชูรสเรามีแร่ธาตุอะไรบ้าง ไม่อยากค่ะ เราก็เปลี่ยนมาใช้เครื่องวิเคราะห์ธาตุที่ติดกับ SEM นี้แหละค่ะวิเคราะห์ต่อ
เจ้าหน้าตาเครื่องวิเคราะห์ธาตุตามภาพ
วิเคราะห์อาหารด้วยเครื่อง EDS/EDX สามารถวิเคราะห์ได้แบบเชิงคุณภาพ คือวิเคราะห์ว่าตัวอย่างที่เราวิเคราะห์มีแร่ธาตุอะไรบ้าง และวิเคราะห์เชิงปริมาณคือวิเคราะห์ว่าตัวอย่างที่เราวิเคราะห์มีแร่ธาตุต่างๆ อยู่ปริมาณเท่าใด กี่%
การวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือนี้ เรานี้สามารถกำหนดจุดวิเคราะห์ได้เป็นแบบพื้นที่ และแบบจุด(ไม่ขอลงรายละเอียดนะค่ะ) ตามผลที่ลงเราเลือกแบบพื้นที่ค่ะ
ตามภาพผลการวิเคราะห์ผงชูรส แบบคุณภาพ
ตำแหน่งวิเคราะห์ ตัวอย่างที่ 1
ผลการวิเคราะห์แบบคุณภาพเจอ O ออกซิเจน, Na โซเดียม
และผลการวิเคราะห์แบบเชิงปริมาณ ในตัวอย่างที่ 1
Elmt Spect. Element Atomic
Type % %
O K ED 92.21 94.45
Na K ED 7.79 5.55
Total 100.00 100.00
ถ้าตัด O ออกซิเจนออกจะได้ Na โซเดียม 98 % (Element %)
ตำแหน่งวิเคราะห์ตัวอย่างที่ 2
ผลการวิเคราะห์เจอ O ออกซิเจน, Na โซเดียม,Cu ทองแดง,Zn ซิงค์หรือสังกะสี,และ Al อลูมิเนียม
และผลการวิเคราะห์แบบเชิงปริมาณ ในตัวอย่างที่ 2
Elmt Spect. Element Atomic
Type % %
O K ED 81.60 91.28
Na K ED 6.77 5.27
Al K ED 0.55 0.36
Cu K ED 6.23 1.76
Zn K ED 4.84 1.33
Total 100.00 100.00
ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างที่สอง พบแร่ธาตุมากกว่าตัวอย่างที่1 แต่เราพบสารปนเปื้อนเป็น Al อลูมิเนียมแต่ปริมาณน้อยมาก 0.55 % เราเลยเลื่อนตำแหน่ง การวิเคราะห์ใหม่พบว่าการวิเคราะห์บางจุดเจอ บางจุดไม่เจอ ทำให้สันนิษฐานได้ว่าเป็นสารปนเปื้อน จากการผลิต เครื่องผลิต บรรจุภัณฑ์ หรือเหตุอื่นๆต้องวิเคราะห์ต่อค่ะ (จาก 5 ยี่ห้อเจอ 1 ยี่ห้อ) ชีวิตประจำวันเราก็เจออาหารมีสารปนเปื้อนอื่นๆได้ทุกวันนะค่ะ เช่นถ้าอลูมิเนียมก็บางทีจากการใช้อลูมิเนียมฟอยล์ห่ออาหาร กระทะอลูมิเนียม ปลากระป๋องบางยี่ห้อ ฯลฯ ไม่จำเป็นจากชนิดตัวอย่างที่เราวิเคราะห์อยู่นะค่ะ (หุหุ)
วิเคราะห์ผงชูรสแบบ High Vacuum Mode (สูญญากาศสูง)
การเตรียมตัวอย่างเหมือนวิธีการ Low Vacuum แต่พอเตรียมเสร็จเราก็นำไปฉาบเคลือบทอง ด้วยเครื่อง Sputter coater ก่อนเข้าเครื่องวิเคราะห์
ตามภาพ ผงชูรส ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM 20kv กำลังขยาย x 50 เท่า สเกล 500 ไมครอนเมตร(0.5มิลลิเมตร)
แบบ High vacuum Mode (สูญญากาศสูง)
ตามภาพ ผงชูรส ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM 20kv กำลังขยาย x 200 เท่า สเกล 100 ไมครอนเมตร(0.1 มิลลิเมตร)
แบบ High vacuum Mode (สูญญากาศสูง)
ตามภาพ ผงชูรส ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM 20kv กำลังขยาย x 750 เท่า สเกล 10 ไมครอนเมตร(0.01 มิลลิเมตร)
แบบ High vacuum Mode (สูญญากาศสูง)
ตามภาพผลการวิเคราะห์ผงชูรส แบบคุณภาพ
ตำแหน่งวิเคราะห์ตัวอย่างที่ 3
ผลการวิเคราะห์เจอ O ออกซิเจน, Na โซเดียม,Cu ทองแดง,Zn ซิงค์หรือสังกะสี
และผลการวิเคราะห์แบบเชิงปริมาณ ในตัวอย่างที่ 3
ผลให้ดู Element %
Elmt Spect. Element Atomic
Type % %
O K ED 16.58 43.99
Na K ED 0.84* 1.56*
Cu K ED 44.94 30.02
Zn K ED 37.64 24.44
Total 100.00 100.00
ผลการวิเคราะห์ผงชูรส ทั้ง 3 ตัวอย่าง ตัวอย่างละ 1 จุด ผลที่ได้มีความคาดเคลื่อนบ้าง ในทางปฏิบัติต้องวิเคราะห์ตัวอย่างละ 3-4 จุดแล้วหาค่าเฉลี่ย ถึงจะมีความแม่นยำกว่า เพราะโอกาสที่ตัวอย่างผงชูรส ที่ผ่านกระบวนการผลิตนั้นจะมีเนื้อสารเป็นเนื้อเดียว และ Element% นั้นเท่ากันทุกจุดได้
วิเคราะห์ผงปรุงรสกันค่ะ
วิเคราะห์ผงปรุงรส แบบ Low vacuum Mode (สูญญากาศต่ำ)
วิเคราะห์แบบนี้ ไม่ต้องเตรียมตัวอย่าง ให้ยุ่งยากเช่นเดียวกับการเตรียมผงชูรส เพียงเรานำ Stub หรือแท่นวางรองตัวอย่าง ติดด้วยกาวเทปใสสองหน้าธรรมดา หรือคาร์บอนเทป ประหยัดก็ใช้เทปใสสองหน้า ติดเทปเสร็จเราก็นำผงปรุงรสโรยลงไปบนเทปกาว ใช้ไม่เยอะค่ะแค่ 1/8 ช้อนชา กระแทกStub ขึ้นลงให้ผงปรุงรสติดเทปกาวให้แน่นไม่หลุดเวลาเข้าเครื่อง ขั้นตอนการเตรียมเหมือนกับการเตรียมผงชูรสค่ะ
ตามภาพ ผงปรุงรส ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM 20kv กำลังขยาย x 50 เท่า สเกล 500 ไมครอนเมตร(0.5มิลลิเมตร) แบบ Low vacuum Mode (สูญญากาศต่ำ) ภาพ BEI COMPO
ข้อดีการถ่ายภาพโดยการใช้ BEI detector ในโหมดLV+COMPO ถ้าตัวอย่างไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกัน อย่างเช่นผงปรุงรส เราจะเห็นได้ว่าถ้าธาตุใด Atomic No. หรือ kev มากกว่าเฉดสีก็จะโทนมืดมากกว่า ซึ่งจะแยกความแตกต่างได้ หรือบอกได้ว่าโทนสว่างเป็น Light element(ธาตุเบา) โทนมืดคือ Heavy element (ธาตุหนัก)
ตามภาพ ผงปรุงรส ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM 20kv กำลังขยาย x 150 เท่า สเกล 100 ไมครอนเมตร(0.1 มิลลิเมตร) แบบ Low vacuum Mode (สูญญากาศต่ำ) ภาพ BEI COMPO
ตามภาพ ผงปรุงรส ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM 20kv กำลังขยาย x 750 เท่า สเกล 10 ไมครอนเมตร(0.01 มิลลิเมตร) แบบ Low vacuum Mode (สูญญากาศต่ำ) ภาพ BEI COMPO
ภาพด้านล่างเป็นผลวิเคราะห์ด้วยเครื่อง EDS,EDX
ตำแหน่งวิเคราะห์ตัวอย่างที่ 4 เราจะวิเคราะห์ตำแหน่ง ผงปรุงรสสีออกโทนมืด
ผลการวิเคราะห์เจอ O ออกซิเจน, Na โซเดียม,Cu ทองแดง, Si ซิลิกอน , Cl ครอรีน,และ K โพแทสเซียม
และผลการวิเคราะห์แบบเชิงปริมาณ ในตัวอย่างที่ 4 ตำแหน่งก้อนสีโทนออกมืด
Elmt Spect. Element Atomic
Type % %
O K ED 67.87 82.83
Na K ED 4.76 4.05
Si K ED 1.07 0.74
Cl K ED 15.58 8.58
K K ED 2.66 1.33
Cu K ED 8.06 2.48
Total 100.00 100.00
ภาพด้านล่างเป็นผลวิเคราะห์ด้วยเครื่อง EDS,EDX
ตำแหน่งวิเคราะห์ตัวอย่างที่ 4 เราจะวิเคราะห์ตำแหน่ง ผงปรุงรสสีออกโทนสว่าง
ผลการวิเคราะห์เจอ O ออกซิเจน, Na โซเดียม,Cu ทองแดง, Zn ซิงค์หรือสังกะสี , Cl ครอรีน
และผลการวิเคราะห์แบบเชิงปริมาณ ในตัวอย่างที่ 4 ตำแหน่งก้อนสีโทนออกสว่าง
Elmt Spect. Element Atomic
Type % %
O K ED 10.37 20.69
Na K ED 2.63 3.65
Cl K ED 80.40 72.40
Cu K ED 2.69 1.35
Zn K ED 3.91 1.91
Total 100.00 100.00
เมื่อเปรียบเทียบ 2 จุดนี้แล้วพบว่า ธาตุจะแตกต่างกันบางธาตุ ก้อนโทนมืดจะมี Si และ K ส่วนโทนสว่างไม่มี และโทนสว่างจะมี Cl ครอรีนค่อนข้างเยอะ 80.40% เลยทีเดียวค่ะ
จากผงปรุงรส มีหลายส่วนผสม และหลายแร่ธาตุ และผสมไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกัน เราเลยมาวิเคราะห์แบบ Mapping เพื่อศึกษาการจับตัวของส่วนผสม การดูภาพ Mapping ง่ายๆเลยนะค่ะ ช่องแรก SE คือภาพที่ได้จากเครื่อง SEM ช่องที่เหลือ จะมีชื่อธาตุอยู่ เป็นช่องละธาตุเลยค่ะ ยกตัวอย่างถ้าเราดูช่องของครอรีน Cl ช่องนี้ช่องเดียวโทนสีออกสว่างแสดงว่ามีครอรีนมากสุด ส้มออกแดงมีมากสุด ฟ้าเขียวปานกลาง สีน้ำเงินน้อยมาก สีดำไม่มีครอรีนเลย นี้คือเฉพาะครอรีน ช่องอื่นๆวิธีการดูผลเหมือนๆกันค่ะ
มาดูผงปรุงรส ตัวอย่างที่ 5
วิเคราะห์ผงปรุงรสแบบ High Vacuum Mode (สูญญากาศสูง)
การเตรียมตัวอย่างเหมือนวิธีการ Low Vacuum แต่พอเตรียมเสร็จเราก็นำไปฉาบเคลือบทอง ด้วยเครื่อง Sputter coater ก่อนเข้าเครื่องวิเคราะห์
ตามภาพ ผงปรุงรส ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM 20kv กำลังขยาย x 50 เท่า สเกล 500 ไมครอนเมตร(0.5มิลลิเมตร) แบบ High vacuum Mode (สูญญากาศสูง)
ตามภาพ ผงปรุงรส ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM 20kv กำลังขยาย x 150 เท่า สเกล 100 ไมครอนเมตร(0.1 มิลลิเมตร) แบบ High vacuum Mode (สูญญากาศสูง)
ตามภาพ ผงปรุงรส ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM 20kv กำลังขยาย x 750 เท่า สเกล 10 ไมครอนเมตร(0.01 มิลลิเมตร) แบบ High vacuum Mode (สูญญากาศสูง)
ภาพด้านล่างเป็นผลวิเคราะห์ด้วยเครื่อง EDS,EDX
ตำแหน่งวิเคราะห์ตัวอย่างที่ 5 เราจะวิเคราะห์ตำแหน่ง ผงปรุงรส
ผลการวิเคราะห์เจอ O ออกซิเจน, Na โซเดียม,Cu ทองแดง, Zn ซิงค์หรือสังกะสี , Cl ครอรีน ,Si ซิลิกอน, K โปแตสเซียม,Ca แคลเซียม
และผลการวิเคราะห์แบบเชิงปริมาณ ในตัวอย่างที่ 5
Elmt Spect. Element Atomic
Type % %
O K ED 15.05 28.78
Na K ED 1.52 2.03
Si K ED 0.31 0.33
Cl K ED 74.41 64.22
K K ED 1.42 1.11
Ca K ED 0.13* 0.10*
Cu K ED 4.90 2.36
Zn K ED 2.26* 1.06*
Total 100.00 100.00
จากผงปรุงรส มีหลายส่วนผสม และหลายแร่ธาตุ และผสมไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกัน เราเลยมาวิเคราะห์แบบ Mapping เพื่อศึกษาการจับตัวของส่วนผสม การดูภาพ Mapping ง่ายๆเลยนะค่ะ ช่องแรก SE คือภาพที่ได้จากเครื่อง SEM ช่องที่เหลือ จะมีชื่อธาตุอยู่ เป็นช่องละธาตุเลยค่ะ ยกตัวอย่างถ้าเราดูช่องของครอรีน Cl ช่องนี้ช่องเดียวโทนสีออกสว่างแสดงว่ามีครอรีนมากสุด ส้มออกแดงมีมากสุด ฟ้าเขียวปานกลาง สีน้ำเงินน้อยมาก สีดำไม่มีครอรีนเลย นี้คือเฉพาะครอรีน ช่องอื่นๆวิธีการดูผลเหมือนๆกันค่ะ
ตามภาพ Mapping เป็นตัวอย่างการทำ Mapping แต่เราเลือกมาไม่ครบทุกธาตุ
ผงชูรส และผงปรุงรส โดยส่วนผสมที่มีอยู่ ตามรายละเอียดข้างกล่อง หรือซองจะเป็นชื่อส่วนผสมเป็นชื่อสารทางเคมี ชื่อทางวิทยาศาตร์ ส่วนผสมพืชหรืออาหารที่เรารู้จัก แต่ไม่มีชื่อแร่ธาตุที่เป็นตัวๆ อย่างเราวิเคราะห์กัน มันก็ยากอยู่ว่าเราจะทราบว่ายี่ห้อใดมีแร่ธาตุ อะไร มีจำนวนเท่าไร มีสารเจือปนที่เป็นอันตรายหรือไม่ มันก็ยากที่ผู้บริโภคอย่างเราจะรู้ รู้แต่ว่าใส่อาหารแล้วอร่อย ผู้บริโภคก็ Ok แล้วละค่ะ
แร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ที่มีอยู่ในอาหาร อาหารเสริม ใช่ว่าบริโภคมากๆแล้ว จะเป็นผลดีกับร่างกาย อาจเป็นผลร้ายมากกว่าผลดี บริโภคน้อยไปกับแร่ธาตุบางตัว เราก็อาจเป็นโรคหรือขาดสารอาหารนั้นไป ต้องมีความพอดีและศึกษากันละค่ะ หาข้อมูลเพิ่มเติมกับพี่ Google อีกทีนะค่ะ
สุดท้ายให้ทุกคนสุขภาพร่างกายแข็งแรง สุขภาพดี กันทุกๆคนนะค่ะ
บทความน่าสนใจอื่นๆ
สะเก็ดแผล ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ คลิก
วิเคราะห์อิฐมวลเบา อิฐเบา อิฐขาว ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM,EDS/EDX คลิก
แป้งเด็ก แป็งเย็น ผงแป้ง ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM และวิเคราะห์ธาตุด้วย EDS,EDX คลิก
เทคนิคการวิเคราะห์ธาตุด้วย EDS หรือ EDX, WDX หรือ WDS, และ EPMA แบบใหนดีกว่ากัน คลิก
วิเคราะห์เส้นผม วิเคราะห์เส้นขน คลิก
มหัศจรรย์ผึ้งน้อย คลิก
จุลินทรีย์ คือสิ่งสิ่งมีชีวิตที่สายตาเปล่า คนเรามองไม่เห็น คลิก
การวิเคราะห์เส้นใย สิ่งทอ เส้นไหม เส้นใยสังเคราะห์ fibers คลิก
การวิเคราะห์ความเสียหายวัสดุและอุปกรณ์ ในวงการอิเล็กทรอนิกส์ เซมิคอนดักเตอร์ ฮาร์ดดิสก์ ไฟฟ้า คลิก
แร่ธาตุในข้าวหอมมะลิ คลิก
ผงชูรส และผงปรุงรส คลิก
วิเคราะห์สิว ด้วยกล้องจุลทรรศน์ คลิก
ความมหัศจรรย์ของหนวดหรือเคราฤาษี คลิก
ปากดีของมดดำ คลิก
ผมมันชั่ว ผมมันเลว คลิก
ฟองน้ำ ฟองน้ำ คลิก
เชื่อหรือไม่ว่าคือขนมปัง คลิก
แกงไก่หน่อไม้ดองคลิก
มาจุดธูปขอหวยกัน คลิก
พระเครื่องเก่าแก่ คลิก
บ้านและสวนสวย คลิก
วิเคราะห์อิฐมวลเบา อิฐเบา อิฐขาว ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM,EDS/EDX คลิก
แป้งเด็ก แป็งเย็น ผงแป้ง ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM และวิเคราะห์ธาตุด้วย EDS,EDX คลิก
เทคนิคการวิเคราะห์ธาตุด้วย EDS หรือ EDX, WDX หรือ WDS, และ EPMA แบบใหนดีกว่ากัน คลิก
วิเคราะห์เส้นผม วิเคราะห์เส้นขน คลิก
มหัศจรรย์ผึ้งน้อย คลิก
จุลินทรีย์ คือสิ่งสิ่งมีชีวิตที่สายตาเปล่า คนเรามองไม่เห็น คลิก
การวิเคราะห์เส้นใย สิ่งทอ เส้นไหม เส้นใยสังเคราะห์ fibers คลิก
การวิเคราะห์ความเสียหายวัสดุและอุปกรณ์ ในวงการอิเล็กทรอนิกส์ เซมิคอนดักเตอร์ ฮาร์ดดิสก์ ไฟฟ้า คลิก
แร่ธาตุในข้าวหอมมะลิ คลิก
ผงชูรส และผงปรุงรส คลิก
วิเคราะห์สิว ด้วยกล้องจุลทรรศน์ คลิก
ความมหัศจรรย์ของหนวดหรือเคราฤาษี คลิก
ปากดีของมดดำ คลิก
ผมมันชั่ว ผมมันเลว คลิก
ฟองน้ำ ฟองน้ำ คลิก
เชื่อหรือไม่ว่าคือขนมปัง คลิก
แกงไก่หน่อไม้ดองคลิก
มาจุดธูปขอหวยกัน คลิก
พระเครื่องเก่าแก่ คลิก
บ้านและสวนสวย คลิก
สถานที่ให้และรับบริการ SEM,EDS : ใกล้ฟิวเจอร์รังสิต และดรีมเวิลด์
กำมะถัน,ครอรีน,ชูรส,ซิงค์,ซิลิกอน,ซีลีเนียม,ทองแดง,ประโยชน์แร่ธาตุในอาหาร,ปรุงรส,ผงชูรส,ผงปรุงรส,ฟลูออรีน,ฟอสฟอรัส,รดชาด,วิเคราะห์ธาตุในอาหาร,วิเคราะห์ผงชูรส,วิเคราะห์ผงปรุงรส,วิเคราะห์สารอาหาร,วิเคราะห์สารอาหารจากผงชูรส,วิเคราะห์อาหารด้วยเครื่อง SEM,วิเคราะห์แร่ธาตุจากผงชูรส,วิเคราะห์แร่ธาตุจากผงปรุงรส,วิเคราะห์แร่ธาตุในอาหาร,สังกะสี,เพิ่มรสชาด,เหล็ก,แคลเซียม,แมกนีเซียม,แมงกานีส,แร่ธาตุ,โคบอลต์,โซเดียม,โปแทสเซียม,โพแทสเซียม,โมลิบดินัม,ไอโอดีน,Ca,Cl,Co,Cu,F,Fe,K,Mg,Mo,Na,P,S,Se,Zn,Zine,Copper,ferrum,Carbon,oxygen,Potassium,Sodium,
Calcium,Chlorine,Molybdenum,Silicon,Fluorine,phosphorus,Magnesium,Selenium,Sulfur,Sulphur