วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556

กระดาษ เยื้อกระดาษ วิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM และ EDS

กระดาษ เยื้อกระดาษ วิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM และ EDS

บทความนี้ Do SEM ขอขอบคุณคุณกอล์ฟ Mr.Golf (สิงห์เฒ่าซ่อมเซ็ม) manatsanan2007@hotmail.com 


กระดาษที่เรานำมาวิเคราะห์จะเป็นกระดาษขนาด A4, 70 และ 80 แกรม เป็นกระดาษ
ที่เราใช้พิมพ์ ปริ้น ถ่ายเอกสารที่เราคุ้นๆกัน เราจะตัดมาวิเคราะห์ขนาด 0.5x0.5 cm.
เท่านั้น นำมาเป็นตัวอย่าง 2 ยี่ห้อ เราจะวิเคราะห์กระดาษด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ
SEM และวิเคราะห์ธาตุด้วย เครื่อง EDS/EDX กันต่อ




เราจะวิเคราะห์กระดาษ 2 แบบ


1.แบบสูญญากาศสูง high vacuum วิเคราะห์แบบนี้ต้องทำให้กระดาษนำไฟฟ้า ด้วยการนำกระดาษไปฉาบเคลือบทอง หรือสามารถฉาบด้วยคาร์บอน,พาราเดียม,แพตตินัม
ข้อดี การวิเคราะห์แบบนี้ จะได้ภาพแบบ SEI ที่มีความคมชัด และขึ้นกำลังขยายสูงได้ดี
ข้อเสีย การวิเคราะห์ด้วย EDS/EDX ค่า Light Element% จะมีค่า Error มากกว่าเรา
ไม่ฉาบเคลือบสารให้นำไฟฟ้าเลย


2.แบบสูญญากาศต่ำ low vacuum วิเคราะห์แบบนี้ไม่ต้องทำให้กระดาษนำไฟฟ้า 
ข้อดี การวิเคราะห์แบบนี้ จะได้ภาพแบบ BEI COMPO แต่ความคมชัดน้อยกว่า SEI และจะได้ภาพที่แยกเฉดสีตามอะตอมมิค (atomic Z) และที่สำคัญจะได้ผลการ วิเคราะห์EDS ที่ดีกว่าแบบฉาบเคลือบให้นำไฟฟ้าก่อน ไม่ว่าจะเป็นฉาบคาร์บอน,ทอง, พาราเดียม,แพตตินัม

ตามภาพเป็นกระดาษ 70 gsm 
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 15kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 50 เท่า สเกล 500 um (ไมครอน ) หรือ 0.5 มิลลิเมตร 
ถ่ายในโหมด High vacuum ภาพแบบ SEI
และกระดาษ 70 gsm ฉาบเคลือบด้วยทองคำ 99.99% เพื่อให้นำไฟฟ้า
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com





ตามภาพเป็นกระดาษ 70 gsm 
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 15kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 50 เท่า สเกล 500 um (ไมครอน ) หรือ 0.5 มิลลิเมตร 
ถ่ายในโหมด low vacuum ภาพแบบ BEI COMPO
และกระดาษ 70 gsm ไม่ได้ฉาบเคลือบด้วยทองคำให้นำไฟฟ้า ไม่ทำลายตัวอย่าง
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com
 




ตามภาพเป็นกระดาษ 70 gsm 
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 15kv (กิโลโวลท์) 
กำลังขยาย x 200 เท่า สเกล 100 um (ไมครอน ) หรือ 0.1 มิลลิเมตร 
ถ่ายในโหมด High vacuum ภาพแบบ SEI
และกระดาษ 70 gsm ฉาบเคลือบด้วยทองคำ 99.99% เพื่อให้นำไฟฟ้า
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com
 




ตามภาพเป็นกระดาษ 70 gsm 
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 15kv (กิโลโวลท์) 
กำลังขยาย x 200 เท่า สเกล 100 um (ไมครอน ) หรือ 0.1 มิลลิเมตร 
ถ่ายในโหมด low vacuum ภาพแบบ BEI COMPO
และกระดาษ 70 gsm ไม่ได้ฉาบเคลือบด้วยทองคำให้นำไฟฟ้า ไม่ทำลายตัวอย่าง
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com
 




ตามภาพเป็นกระดาษ 70 gsm 
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 15kv (กิโลโวลท์) 
กำลังขยาย x 1000 เท่า สเกล 10 um (ไมครอน ) หรือ 0.01 มิลลิเมตร 
ถ่ายในโหมด High vacuum ภาพแบบ SEI
และกระดาษ 70 gsm ฉาบเคลือบด้วยทองคำ 99.99% เพื่อให้นำไฟฟ้า
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com
 




ตามภาพเป็นกระดาษ 70 gsm 
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 15kv (กิโลโวลท์) 
กำลังขยาย x 1000 เท่า สเกล 10 um (ไมครอน ) หรือ 0.01 มิลลิเมตร 
ถ่ายในโหมด low vacuum ภาพแบบ BEI COMPO
และกระดาษ 70 gsm ไม่ได้ฉาบเคลือบด้วยทองคำให้นำไฟฟ้า ไม่ทำลายตัวอย่าง
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com
 




เรามาวิเคราะห์กระดาษ 70 gsm ด้วยเครื่องวิเคราะห์ธาตุกันต่อ วิเคราะห์ธาตุเชิงคุณภาพ
โหมด high vacuum (HV SEM)




วิเคราะห์ธาตุเชิงคุณภาพ โหมด low vacuum  (LV SEM)




สรุปการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ทั้ง 2โหมดจะได้ธาตุที่ใกล้เคียงกัน
โหมด High vacuumจะได้ C คาร์บอน, O ออกซิเจน, Ca แคลเซียม,Cu ทองแดง,
Zn สังกะสี โหมด low vacuum จะได้ธาตุเหมือนๆ HV SEM จะมี Al อลูมิเนียม
เท่านั้นที่เพิ่มมาอีกหนึ่งธาตุ

วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ โหมด high vacuum (HV SEM)
สามารถวิเคราะห์ได้ในแบบ
1.Element % (weight % , wt% , Concentrate %)
2.Compound %




วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ โหมด high vacuum (HV SEM) แบบกราฟแท่ง Element %





วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ โหมด low vacuum (LV SEM)
สามารถวิเคราะห์ได้ในแบบ
1.Element % (weight % , wt% , Concentrate %)
2.Compound %




วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ โหมด low vacuum (LV SEM) แบบกราฟแท่ง Element %




สรุปการวิเคราะห์เชิงปริมาณ Element% ที่ได้จะแตกต่างระหว่าง Highและ Low vacuum โดยที่ Low vacuum จะสามารถวิเคราะห์ธาตุเบา light element ได้ดีกว่า ที่เป็นเช่นนี้ เพราะที่ low vacuum เราไม่ได้ฉาบเคลือบทองที่เป็นธาตุหนัก (heavy element) ที่จะไป ทำให้ค่าปริมาณธาตุเบาผิดไป มีคำถามต่อว่าถ้าเราฉาบด้วยคาร์บอนแทนทองละ ธาตุอื่นๆ ที่ค่า Z มากกว่าคาร์บอนคงไม่มีปัญหามาก แต่การวิเคราะห์คาร์บอน หรือธาตุที่ต่ำกว่าคาร์ บอน จะได้ค่าที่ผิดไปบ้าง
(การเช็คค่า Error ค่าที่ผิดไป และค่า Accuracy รอบทความต่อๆไปครับ)

แต่ถ้าตัวอย่างเรานำไฟฟ้าได้ โดยที่ไม่ต้องการฉาบเคลือบสารให้นำไฟฟ้า เราก็สามารถดู และวิเคราะห์ธาตุในโหมด High vacuum ได้เลย ซึ่งผลวิเคราะห์ EDS กรณีนี้ จะดีกว่าผล
ที่เราวิเคราะห์ในโหมด Low vacuum แน่นอนครับ

หลังจากเราทราบผลเชิงปริมาณเชิงคุณภาพมาแล้ว เรามาดูการกระจายตัวของแต่ละธาตุ
กันว่า อยู่บริเวณและตำแหน่งใหนกันบ้าง ตามภาพด้านล่าง เทียบกับภาพ SEM ช่องแรก
ซ้ายมือบนสุด

ยกตัวอย่างเราดูการกระจายตัวของ Ca แคลเซียม เราก็จะดูเฉพาะช่อง Ca ตำแหน่งของ
Ca ก็คือบริเวณโทนสีสว่าง ขาวคือมีมากสุด ส่วนสีน้ำเงินมีน้อย สีดำคือไม่มี Ca ณ.บริเวณ
นี้เลย ช่องอื่นๆก็ดูและเทียบคล้ายๆกัน

ตามภาพล่าง คือการวิเคราะห์การกระจายตัว Speed mapping  โหมด HV SEM




ตามภาพล่าง คือการวิเคราะห์การกระจายตัว Speed mapping  โหมด LV SEM



จากที่เราได้ทำ mappingทำให้เราทราบการกระจายตัวและตำแหน่งของสารแต่ละตัว
เช่นตำแหน่งกลุ่มเม็ดก้อนสีขาวๆตามภาพ SEI และ BEI COMPO จะเป็นตำแหน่งของ
สาร/ธาตุ แคลเซียมนั้นเอง


เรามาวิเคราะห์กระดาษ 80 gsm. กันต่อครับ


ตามภาพเป็นกระดาษ 80 gsm 
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 15kv (กิโลโวลท์) 
กำลังขยาย x 50 เท่า สเกล 500 um (ไมครอน ) หรือ 0.5 มิลลิเมตร 
ถ่ายในโหมด High vacuum ภาพแบบ SEI
และกระดาษ 80 gsm ฉาบเคลือบด้วยทองคำ 99.99% เพื่อให้นำไฟฟ้า
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com





ตามภาพเป็นกระดาษ 80 gsm 
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 15kv (กิโลโวลท์) 
กำลังขยาย x 50 เท่า สเกล 500 um (ไมครอน ) หรือ 0.5 มิลลิเมตร 
ถ่ายในโหมด low vacuum ภาพแบบ BEI COMPO
และกระดาษ 80 gsm ไม่ได้ฉาบเคลือบด้วยทองคำให้นำไฟฟ้า ไม่ทำลายตัวอย่าง
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

 



ตามภาพเป็นกระดาษ 80 gsm 
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 15kv (กิโลโวลท์) 
กำลังขยาย x 200 เท่า สเกล 100 um (ไมครอน ) หรือ 0.1 มิลลิเมตร 
ถ่ายในโหมด High vacuum ภาพแบบ SEI
และกระดาษ 80 gsm ฉาบเคลือบด้วยทองคำ 99.99% เพื่อให้นำไฟฟ้า
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com




ตามภาพเป็นกระดาษ 80 gsm 
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 15kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 200 เท่า สเกล 100 um (ไมครอน ) หรือ 0.1 มิลลิเมตร 
ถ่ายในโหมด low vacuum ภาพแบบ BEI COMPO
และกระดาษ 80 gsm ไม่ได้ฉาบเคลือบด้วยทองคำให้นำไฟฟ้า ไม่ทำลายตัวอย่าง
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com





ตามภาพเป็นกระดาษ 80 gsm 
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 15kv (กิโลโวลท์) 
กำลังขยาย x 1000 เท่า สเกล 10 um (ไมครอน ) หรือ 0.01 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum ภาพแบบ SEI
และกระดาษ 80 gsm ฉาบเคลือบด้วยทองคำ 99.99% เพื่อให้นำไฟฟ้า
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com




ตามภาพเป็นกระดาษ 80 gsm 
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 15kv (กิโลโวลท์) 
กำลังขยาย x 1000 เท่า สเกล 10 um (ไมครอน ) หรือ 0.01 มิลลิเมตร 
ถ่ายในโหมด low vacuum ภาพแบบ BEI COMPO
และกระดาษ 80 gsm ไม่ได้ฉาบเคลือบด้วยทองคำให้นำไฟฟ้า ไม่ทำลายตัวอย่าง
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com




เรามาวิเคราะห์กระดาษ 80 gsm ด้วยเครื่องวิเคราะห์ธาตุกันต่อ วิเคราะห์ธาตุเชิงคุณภาพ
โหมด high vacuum (HV SEM)




วิเคราะห์ธาตุเชิงคุณภาพ โหมด low vacuum  (LV SEM)




สรุปการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ทั้ง 2โหมดจะได้ธาตุที่ใกล้เคียงกัน
โหมด High vacuum จะได้
C คาร์บอน, O ออกซิเจน, Ca แคลเซียม,Cu ทองแดง,Zn สังกะสี
โหมด low vacuum จะได้
ธาตุเหมือนๆ HV SEM แต่จะมี Si ซิลิกอน,Cl ครอรีน ที่เพิ่มมาอีก2ธาตุ


วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ โหมด high vacuum (HV SEM)
สามารถวิเคราะห์ได้ในแบบ
1.Element % (weight % , wt% , Concentrate %)
2.Compound %




วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ โหมด high vacuum (HV SEM) แบบกราฟแท่ง Element %




วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ โหมด low vacuum (LV SEM)
สามารถวิเคราะห์ได้ในแบบ
1.Element % (weight % , wt% , Concentrate %)
2.Compound %





วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ โหมด low vacuum (LV SEM) แบบกราฟแท่ง Element %





สรุป
ผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในโหมด Low vacuum จะสามารถ
วิเคราะห์
Element เพิ่มมาอีก 2 ธาตุคือ Si และ Cl ซึ่งมีปริมาณน้อยมาก โดยที่ทั้งสอง
ธาตุไม่สามารถ
วิเคราะห์เจอในโหมด high vacuum

และถ้าเทียบระหว่างกระดาษ 70แกรมและ 80แกรม เราจะพบได้ว่ากระดาษ 70 แกรม จะมี
%ของแคลเซียมมากกว่า 80แกรม (ที่กำลังขยาย 50 เท่า)


หลังจากเราทราบผลเชิงปริมาณเชิงคุณภาพมาแล้ว เรามาดูการกระจายตัวของแต่ละธาตุ กันว่า
อยู่บริเวณและตำแหน่งใหนกันบ้าง ตามภาพด้านล่าง เทียบกับภาพ SEM ช่องแรก ซ้ายมือบนสุด
ยกตัวอย่างเราดูการกระจายตัวของ Ca แคลเซียม เราก็จะดูเฉพาะช่อง Ca ตำแหน่งของ Ca
ก็คือบริเวณโทนสีสว่าง ขาวคือมีมากสุด เขียวรองลงมา ส่วนสีน้ำเงินมีน้อย สีดำคือ ไม่มี Ca
ณ.บริเวณนี้เลย ช่องอื่นๆก็ดูและเทียบคล้ายๆกัน

ตามภาพล่าง คือการวิเคราะห์การกระจายตัว Speed mapping  โหมด HV SEM




ตามภาพล่าง คือการวิเคราะห์การกระจายตัว Speed mapping  โหมด LV SEM




หมายเหตุ : การทำ Mapping ควรให้ค่า Cts.แต่ละช่องมี่ค่าเท่ากับหรือมากกว่า 10 Cts.

ตามภาพ mapping ตัวอย่างค่าแต่ละช่อง ส่วนใหญ่ต่ำกว่า 10 (ทำเป็นตัวอย่าง)


น้อมรับทุกคำชี้แนะครับ Mr.Golf (สิงห์เฒ่าซ่อมเซ็ม) manatsanan2007@hotmail.com
หรือมาพบปะพูดคุยได้ตามประสาได้ที่ BigC จ.สุรินทร์ (แอร์ฟรี 555 จริงๆนะครับ) หรือมา
ติดตามเป็นเพื่อนผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค แต่ยังไม่ได้อัพและแชร์ มัวแต่ทำนาทำไร่ อยู่ครับ
ตามลิงค์ด้านล่างเลยครับ

http://www.facebook.com/JeolOxfordInstruments?ref=hl

*********************************************************************
กระดาษ,เยื้อกระดาษ,วิเคราะห์กระดาษ,ทดสอบกระดาษ,paper,paper analysis,paper 70gsm.,
paper 80gsm.,กระดาษ 70 แกรม,กระดาษ 80 แกรม


บทความน่าสนใจอื่นๆ

กระดาษ เยื้อกระดาษ วิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM และ EDS คลิก

Detector Cool Down สำหรับเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS/EDX คลิก
Detector warm up สำหรับ OXFORD EDS คลิก 

EDS ,EDX resolution check มาเช็คสุขภาพเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS,EDX กัน คลิก
 มหัศจรรย์หนอนผีเสื้อ" วงศ์ Tineidae " ผ่านกล้องจุลทรรศน์ คลิก
CAMEO คือเทคนิคการวิเคราะห์เฟสของวัสดุ เชิงคุณภาพด้วยเครื่อง EDS,EDX คลิก
 โหมดภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด คลิก
การวิเคราะห์ธาตุ ตามแนวกำหนดเส้นส่องกราดแบบ Linescan คลิก
การวิเคราะห์การกระจายตัว และหาตำแหน่งของสาร/ธาตุ ด้วยวิธีการ Mapping คลิก
 ส้มจิ๊ดถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์ฯ SEM และวิเคราห์ธาตุด้วย EDS,EDX คลิก
 วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX คลิก
 สะเก็ดแผล ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ คลิก
 วิเคราะห์อิฐมวลเบา อิฐเบา อิฐขาว ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM,EDS/EDX คลิก
  แป้งเด็ก แป็งเย็น ผงแป้ง ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM และวิเคราะห์ธาตุด้วย EDS,EDX คลิก
เทคนิคการวิเคราะห์ธาตุด้วย EDS หรือ EDX, WDX หรือ WDS, และ EPMA แบบใหนดีกว่ากัน คลิก
 วิเคราะห์เส้นผม วิเคราะห์เส้นขน คลิก
มหัศจรรย์ผึ้งน้อย คลิก
จุลินทรีย์ คือสิ่งสิ่งมีชีวิตที่สายตาเปล่า คนเรามองไม่เห็น คลิก
การวิเคราะห์เส้นใย สิ่งทอ เส้นไหม เส้นใยสังเคราะห์ fibers คลิก
วิเคราะห์ความเสียหายวัสดุและอุปกรณ์ ในวงการอิเล็กทรอนิกส์ เซมิคอนดักเตอร์ ฮาร์ดดิสก์ ไฟฟ้า คลิก
แร่ธาตุในข้าวหอมมะลิ คลิก
ผงชูรส และผงปรุงรส คลิก
วิเคราะห์สิว ด้วยกล้องจุลทรรศน์ คลิก
ความมหัศจรรย์ของหนวดหรือเคราฤาษี คลิก

ปากดีของมดดำ คลิก

ผมมันชั่ว ผมมันเลว คลิก
 ฟองน้ำ ฟองน้ำ คลิก
 เชื่อหรือไม่ว่าคือขนมปัง คลิก
แกงไก่หน่อไม้ดอง  คลิก
มาจุดธูปขอหวยกัน คลิก

พระเครื่องเก่าแก่ คลิก
บ้านและสวนสวย คลิก

ที่มา : http://www.dosem24hr.com/index.php
 
สถานที่ให้และรับบริการ SEM,EDS : ใกล้ฟิวเจอร์รังสิต และดรีมเวิลด์
 Do SEM บริการเครื่อง SEM กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556

EDS/EDX Detector Cool Down สำหรับเครื่องวิเคราะห์ธาตุ

Detector Cool Down สำหรับเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS/EDX
บทความนี้ Do SEM ขอขอบคุณคุณกอล์ฟ Mr.Golf (สิงห์เฒ่าซ่อมเซ็ม)
manatsanan2007@hotmail.com 


หลังจากเทศกาลหยุดยาวไม่ว่าจะวันปีใหม่ วันสงกรานต์ สำหรับท่านที่ใช้เครื่อง
วิเคราะห์ธาตุ EDS/EDX ที่ได้ทำ Detector warm up ตัวตรวจจับ(Detector)
ไว้ก่อนหน้านี้ โดยที่ Detector ที่ว่าเป็นแบบจะต้องเติม LN2
ในโตรเจนเหลวไว้
ตลอดเวลา แต่ถ้าไม่ต้องการใช้ หรือไม่มี LN2 เราก็สามารถ Warm up เพื่อหยุด
การใช้เป็นการชั่วคราวได้ (เครื่อง EDS OXFORD Link ISIS 200/300)
ถ้าจะกลับ
มาใช้หลังหยุดยาว มีวิธีมาแนะนำครับ




ส่วนท่านที่ใช้ EDS INCA Series และยี่ห้ออื่นรอวิธีการกับบทความต่อไปนะครับ

ขั้นตอนการทำ Detector Cool Down
เปิดสวิทช์ LINK ISIS Tower ให้ทำงาน เราจะได้ยินเสียง Alarm จาก ISIS
Tower หลังจากนั้นให้เราเปิดคอมฯ และเข้าโปรแกรม LINK ISIS
เมื่อเปิดโปรแกรม LINK ISIS จังหวะที่โปรแกรมกำลังเปิดหน้า Labbook ขึ้นมา
จะมีหน้า warning message *** LN2 LOW *** ซึ่งหมายถึงระดับ LN2 ในโตร
เจนอยู่ในระดับต่ำมาก หรือไม่มี LN2 อยู่ภายใน Detector dewar เลย




ตามภาพ warning message โชว์ "Crystal warm" มีความหมายว่าหน้า Crystal
เราอุ่น(warm)ไม่พร้อมใช้งาน สถานะพร้อมใช้งานจะต้อง Coolหรือเย็นเท่านั้นปกติ
บริเวณ Crystal อุณภูมิจะประมาณติดลบ -40 ถึง-50 องศา ถึงจะพร้อมใช้งาน กรณี
นี้เราต้องทำ Detector cool down เพื่อจะกลับมาใช้งาน EDS/EDX ได้

จะเห็น  warning message นี้ปรากฎขึ้นมาแสดงว่า เราไม่ได้เติม LN2 มาเป็นเวลา
นาน และครั้งแรกที่ทำการติดตั้ง EDS/EDX


หลังจากเราเปิดโปรแกรม Link ISIS เราจะเห็น window Labbook โชว์ขึ้น
มาตามภาพ
ด้านล่าง ขั้นตอนต่อไปให้เราคลิกที่รูป Detector ตามกรอปสีส้ม

ข้อควรระวัง : ในการทำ Detector cool down ในทุกๆครั้ง หลังเราหยุดใช้
งาน Detector เป็นระยะนานด้วยการทำ Detector warm up มาก่อนหน้าหรือ
จะเป็นการขั้นตอนการติดตั้งของช่างเองในตอนแรก
นั้นก็คือ ก่อนทำ Detector cool down เราจะต้องเปิดเครื่อง SEM,FE-SEM,
EPMA,TEM ให้อยู่ในสภาวะ Vacuum ก่อน และที่สำคัญกว่าจะต้องปรับ
สภาพอุณหภูมิห้อง และDetector dewar เองโดยการเปิดแอร์ 23-25 องศา
ประมาณ 1-2 ชั่วโมงอย่างต่ำ ถ้าเป็นไปได้ 3-4 ชั่วโมงจะดีมาก

ถ้าไม่ทำโอกาสจะเจอ Thermal shock,มีไอน้ำแข็งเกาะบริเวณ Crystal ซึ่ง
จะเป็นสาเหตุ Detector resolution ไม่ดี,% Dead timeสูง หรือสวิงไม่นิ่ง,
ไม่สามารถวิเคราะห์ Light element ได้ และอื่นๆ

ถามว่าถ้าเกิดปัญหาเหล่านี้มีทางแก้ไหม มีครับ ติดตามบทความต่อๆไปนะครับ




หลังจากที่เราคลิกรูป Detector จะมีหน้า Spectrum detail และ Detector and set up
ปรากฎตามภาพล่าง

ในหน้านี้ทำอะไรได้บ้างนอกจากจะทำ Detector Cool down ในส่วนนี้สามารถ
ทำการสอบเทียบ Calibration,ละลายน้ำแข็งและปรับสภาพตัวตรวจจับวัดด้วย โหมด
Conditioner และ Discriminator, Detector Config ,Detector Warm upและอื่นๆ
ซึ่งจะ นำเสนอในบทความต่อๆไป





ตามภาพให้เราคลิกเมาท์ที่เมนู Detector



เราจะเห็นเมนูคำสั่งย่อยขึ้นมาตามภาพ เราจะเห็นคำว่า Detector Cool Down
เป็นตัวหนังสือสีดำ ความหมายคือสถานะ Detector ตอนนี้ Detector/Crytal
นั้น warm อยู่ ไม่พร้อมใช้งาน

ให้เราคลิก Detector Cool Down ตามภาพ
เมื่อคลิก Detector Cool Down เสียง Alarm จาก ISIS Tower จะเงียบไป
หรือจะคลิกที่ LN2 Alarm reset 1ครั้งเสียงก็จะเงียบเหมือนกัน



ตามภาพ เราจะยืนยันการทำ Detector cool down ก็ให้เราคลิก Yes




หลังคลิก Yes ในขั้นตอนนี้ต้องระวัง 10นาทีแรก ห้ามเติม LN2 ก่อนเครื่องจะพร้อมให้เติม




หลังเราคลิก OK จะมีหน้าโชว์ระยะเวลาในการทำ Detector cool down
ทั้งหมด 1 ชั่วโมง 15 นาที (10 นาทีแรกห้ามเติม LN2)




เมื่อมาถึงเวลาที่ 1 ชั่วโมง 5 นาที




ตามภาพล่าง เมื่อผ่าน 10 นาที เครื่องจะให้เราเติม LN2 ในโตรเจนเหลว เราจะต้อง
เติม LN2 ในโตรเจนเหลวให้เต็ม Detector dewar (ระวัง)ก่อนแล้ว จะ คลิก OK ได้




หลังคลิก OK ขั้นตอนจะต้องรอไปอีก 1 ชั่วโมง 5นาทีเครื่องถึงจะเสร็จขั้นตอนของการ
ทำ Detector cool down และพร้อมใช้งาน

น้อมรับทุกคำชี้แนะครับ Mr.Golf (สิงห์เฒ่าซ่อมเซ็ม) manatsanan2007@hotmail.com
หรือมาพบปะพูดคุยได้ตามประสาได้ที่ BigC จ.สุรินทร์ (แอร์ฟรี 555 จริงๆนะครับ)
หรือมาติดตามเป็นเพื่อนผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค แต่ยังไม่ได้อัพและแชร์ มัวแต่ทำนาทำไร่
อยู่ครับ ตามลิงค์ด้านล่างเลยครับ

http://www.facebook.com/JeolOxfordInstruments?ref=hl

*********************************************************************
cool down,detector cool down,eds cool down,edx cool down


 
ที่มา : http://www.dosem24hr.com/index.php
สถานที่ให้และรับบริการ SEM,EDS : ใกล้ฟิวเจอร์รังสิต และดรีมเวิลด์
Do SEM บริการเครื่อง SEM กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด

วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556

High resolution ภาพถ่ายกำลังขยายสูง กับกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM


ภาพถ่ายกำลังขยายสูง กับกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป
แบบส่องกราด SEM

บทความนี้ Do SEM ขอขอบคุณคุณกอล์ฟ Mr.Golf (สิงห์เฒ่าซ่อมเซ็ม)  มากๆค่ะ
manatsanan2007@hotmail.com 


ถ้าผมเปรียบเทียบรุ่นของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯให้คล้ายกับรุ่นรถยนต์
เราสามารถเปรียบเทียบรุ่นของกล้องตามประสิทธภาพของกล้องให้เหมือน
รุ่นของรถได้ดังนี้

1.กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM(W Filament) =คล้ายรถ Vios/Jazz
Resolution กล้องแบบนี้จะอยู่ที่ 3 nm.(นาโนเมตร) ที่ 30 kV

2.กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM(LaB6 Filament) =คล้ายรถ Altis/Civic
Resolution กล้องแบบนี้จะอยู่ที่ 3 nm.(นาโนเมตร) ที่ 30 kV แต่ที่ low kV
ภาพจะชัดกว่าแบบ W Filament ค่อนข้างมาก ที่0.5-15kV จะชัดกว่ามาก

3.กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ FE-SEM(W Filament) =คล้ายรถ Camry/Accord
Resolution กล้องแบบนี้จะอยู่ที่ 0.8-1.5 nm.(นาโนเมตร) ที่ 15 kV
กล้องแบบนี้ดีสุด แพงสุด และที่สำคัญให้บริการน้อยสุดในเมืองไทย
ในเมื่อกล้องแบบ FE-SEM ดีสุดแต่มีให้บริการและรับบริการ ไม่ถึง 1 %
จากเครื่องทั้งหมดในเมืองไทย ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ

บทความนี้ผมจะใช้กล้องกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM(W Filament)
ซึ่งเป็นรุ่นต่ำสุด มาลองถ่ายภาพที่กำลังขยายสูง เพื่อแก้ขัด กับการขาด
แคลนของ FE-SEM กัน มาลองดูกันครับ(ความคมชัดของภาพในบทความลง
เป็นไฟล์ JPEG. แต่ต้นฉบับเป็น BMP.)

ตามภาพเป็น Latex (ภาพนี้ใช้ 20kV) 1 แสนเท่า
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20 kV (กิโลโวลท์)    
กำลังขยาย x 100k เท่า สเกล 0.1 um (ไมครอน ) หรือ 0.0001 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum ภาพแบบ SEI ใช้ Spot size 1 และ Aperture #1
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

* ปกติเครื่อง SEM/EPMA ถ่าย high resolution จะต้องใช้ตัวอย่าง Au particle (Gold) 
   ใช้ Acc. 30 kV   Aperture #1
** ปกติเครื่อง FE-SEM ถ่าย high resolution จะต้องใช้ตัวอย่าง Au particle (Gold) 
   ใช้ Acc. 15 kV และ 1 kV (ส่วนตัวชอบถ่าย 0.5 kV 1แสนเท่า) Aperture #1

SEM High resolution check

ตามภาพเป็น Latex (ภาพนี้ใช้ 30kV)
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 30kv (กิโลโวลท์) 
กำลังขยาย x 75k เท่า สเกล 0.1 um (ไมครอน ) หรือ 0.0001 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum ภาพแบบ SEI ใช้ Spot size 1 และ Aperture #1
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com



ตามภาพเป็น Latex  (ภาพนี้ใช้ 20kV)
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์) 
กำลังขยาย x 75k เท่า สเกล 0.1 um (ไมครอน ) หรือ 0.0001 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum ภาพแบบ SEI ใช้ Spot size 1 และ Aperture #2
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com



หมายเหตุ : ตัวอย่าง Latex ปกติจะถ่ายกำลังขยายไม่เกิน 35k (35,000) เท่า
                การถ่ายภาพกำลังขยายสูงบางตัวอย่างขึ้นกำลังขยายสูงได้ บางตัวอย่าง
                ใช้ Condition ตาม 2 ภาพบนก็ไม่สามารถจะถ่ายได้ (W Filament)
                ชัดเท่ากับภาพสองภาพด้านบนได้

ตามภาพเป็น Latex  (ภาพนี้ใช้ 30kV)
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 30kv (กิโลโวลท์) 
กำลังขยาย x 50k เท่า สเกล 0.5 um (ไมครอน ) หรือ 0.0005 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum ภาพแบบ SEI ใช้ Spot size 1 และ Aperture #2
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com



ตามภาพเป็น Latex  (ภาพนี้ใช้ 20kV)
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์) 
กำลังขยาย x 35k เท่า สเกล 0.5 um (ไมครอน ) หรือ 0.0005 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum ภาพแบบ SEI ใช้ Spot size 1 และ Aperture #2
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com



หมายเหตุ : การใช้ Aperture #1 จะชัดกว่า #2

ตามภาพเป็น Latex  (ภาพนี้ใช้ 20kV)
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์) 
กำลังขยาย x 20k เท่า สเกล 1um (ไมครอน ) หรือ 0.001 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum ภาพแบบ SEI ใช้ Spot size 5 และ Aperture #2
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com



ตามภาพเป็น Latex  (ภาพนี้ใช้ 20kV)
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์) 
กำลังขยาย x 20k เท่า สเกล 1um (ไมครอน ) หรือ 0.001 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum ภาพแบบ SEI ใช้ Spot size 5 และ Aperture #2
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com



สำหรับ SEM Resolution check ส่วนใหญ่จะใช้ Gold particle สำหรับการเช็ค
และจะเช็คที่กำลังขยาย 100k เท่า ถ้า FE-SEM ก็จะเช็คที่ 100-250k เท่าครับ

ครับผลของการถ่ายภาพออกมา ก็พอแก้ขัดได้ดีพอควร กับการที่ FE-SEM ไม่
เพียงพอ แต่การถ่ายภาพแบบนี้ใช่ว่าทุกเครื่องจะสามารถถ่ายได้ เครื่องดีแต่คน
ถ่ายตั้งค่าในการถ่ายไม่ดี ก็ไม่สามารถถ่ายภาพออกมาได้ตามตัวอย่างภาพด้าน
บนได้ ขึ้นอยู่กับคนขับ(คนถ่าย)แล้วละครับ ที่จะต้องใช้ฝีมือในการถ่าย แต่ถ้า
เป็น FE-SEM บอกได้เลยครับถ่ายง่ายกว่า SEM ถึง 10เท่าเลยละครับติดตาม
บทความต่อๆไปนะครับ จะนำเทคนิคถ่ายภาพให้ได้สวย และชัด และ
สามารถขึ้นกำลังขยายได้สูง ติดตามกันนะครับ


น้อมรับทุกคำชี้แนะครับ Mr.Golf (สิงห์เฒ่าซ่อมเซ็ม) manatsanan2007@hotmail.com
หรือมาพบปะพูดคุยได้ตามประสาได้ที่ Big C จ.สุรินทร์ (แอร์ฟรี 555 จริงๆนะครับ)
หรือมาติดตามเป็นเพื่อนผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค แต่ไม่ค่อยได้อัพและแชร์ มัวแต่ทำนาทำไร่
อยู่ครับ ตามลิงค์ด้านล่างเลยครับ
http://www.facebook.com/JeolOxfordInstruments?ref=hl

ขอขอบคุณ เจ้าของตัวอย่าง Latex Standard : Mr.David Lee (Do SEM)

***************************************************
Resolution,resolution check,SEM resolution check,ภาพกำลังขยายสูง,
ภาพSEMกำลังขยายสูง

บทความน่าสนใจอื่นๆ 
 
ที่มา : http://www.dosem24hr.com/index.php
สถานที่ให้และรับบริการ SEM,EDS : ใกล้ฟิวเจอร์รังสิต และดรีมเวิลด์
Do SEM บริการเครื่อง SEM กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด