วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

Copper wire Analysis วิเคราะห์ความเสียหายสายไฟทองแดง วิเคราะห์รอยสปาร์ค รอยไหม้ และออกไซด์

วิเคราะห์ความเสียหายสายไฟทองแดง copper wire วิเคราะห์รอยสปาร์ค รอยไหม้ และออกไซด์
ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM และเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS/EDX 


ตัวอย่างที่เราทดสอบ เป็นตัวอย่างที่เกิดปัญหาจากการใช้งานจริง เป็นสายไฟต่อจากหม้อไฟ
ขนาด 30/100 Amp.(มิเตอร์) เชื่อมเข้าบ้าน ผ่านการใช้งานมา 8 ปีเต็ม และมีปัญหาเกิดการ
สปาร์คที่มิเตอร์ และไฟตก ไฟไม่นิ่ง เวลาเปิดไฟในบ้านจะสังเกตุว่าหลอดไฟนีออนกระพริบ
สาเหตุเกิดจากมีช่างต่อเติมบ้าน และใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้า ที่กินกระแสมาก ทำให้ช่างต้องต่อ
ไฟเครื่องเชื่อม โดยตรงหลังมิเตอร์ไฟ ต่อโดยหมุนน็อตหลังมิเตอร์ออก ณ.ตำแหน่งไฟออก
2 สองเส้น L-N ให้หลวม แล้วก็ต่อไฟเครื่องเชื่อมเข้าไป หลังใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้าเสร็จ ก็ถอด
สายไฟเครื่องเชื่อมออก แล้วไม่ขันน็อตสายไฟฟ้าเข้าบ้านเราคืน ทำให้สายไฟหลวม เกิดการ
สปาร์ค ไฟตก แต่ออกอาการหลังจากนั้น 3-4 ปีให้หลัง

ตามตัวอย่างสายไฟทองแดง ตามภาพล่าง เราจะมาวิเคราะห์กันทั้งหมด 3 จุด ,P1 บริเวณที่
ห่างจากปลายสายประมาณ 1.5 นิ้ว เป็นตำแหน่งมีปัญหาน้อยสุด ,P2 เป็นตำแหน่งเกิดจาก
สปาร์ค ,P3 เป็นบริเวณที่เกิดออกไซด์ และเป็นตำแหน่งน็อตยึดสายไฟของมิเตอร์(ขาออก)

ตามภาพเป็นภาพสายทองแดง Copper wire ตำแน่ง P1
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 50 เท่า สเกล 500 um (ไมครอน ) หรือ 0.5 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพเป็นภาพสายทองแดง Copper wire ตำแน่ง P1
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 1000 เท่า สเกล 10 um (ไมครอน ) หรือ 0.01 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com




วิเคราะห์สายทองแดง Copper wire Analysis ด้วยเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS/EDX วิเคราะห์สายทองแดง Copper wire เชิงคุณภาพ Qualitative Analysis ณ.ตำแหน่ง P1

ตามภาพบนที่กำลังขยาย 1000 เท่าเราจะวิเคราะห์ด้านเชิงคุณภาพ ทั้งภาพที่แสดง
ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จะได้ผลเป็นกราฟเชิงคุณภาพเหมือนภาพล่าง

เราจะได้ผลว่ามีองค์ประกอบธาตุหรือสาร C คาร์บอน,O ออกซิเจน,Ca แคลเซียม
,Cl ครอรีน และ Cu ทองแดง อยู่บนพื้นที่ที่เราวิเคราะห์ ตามภาพด้านบน 

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX คลิก

กราฟเชิงคุณภาพแบบที่ 1 ตำแน่ง P1



กราฟเชิงคุณภาพแบบที่ 2 ตำแน่ง P1

จากผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เราทราบแล้วว่ามีธาตุอะไรบ้าง แต่ยังไม่ทราบว่า
มีปริมาณธาตุใดๆอยู่เท่าไร เราจะมาวิเคราะห์เชิงปริมาณกันต่อ
วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ Qualitative Analysis การวิเคราะห์เชิงปริมาณ เราจะได้ค่าเป็น Element % หรือเรียกอีกชื่อ Wt% (weight %)
หรืออีกชื่อ Con% (concentration%) และ Atomic% 

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX คลิก

ตามภาพล่างจะวิเคราะห์เชิงปริมาณแบบ
Quantitative method: ZAF ( 4 iterations).
 Analysed all elements and normalised results.

ตามผลด้านล่างเราจะวิเคราะห์ธาตุทั้งหมด ที่ตรวจพบเจอในสายทองแดง Copper wire 
ซึ่งเราจะได้องค์ประกอบธาตุหรือสาร
C คาร์บอน 0.45 % ,O ออกซิเจน 18.89 %,Ca แคลเซียม
0.54 %  ,Cl ครอรีน 6.79 % และ Cu ทองแดง 73.33 %

ตามภาพล่างจะวิเคราะห์เชิงปริมาณแบบ 
Quantitative method: ZAF ( 3 iterations).
 Analysed elements combined with: O ( Valency: -2)
 Method : Stoichiometry Normalised results.
 Nos. of ions calculation based on  1 cations per formula.
(Condition เดียวกันกับด้านบนแต่เปลี่ยน Method )
จะได้ ค่าธาตุ อยู่ในรูปแบบคอมพาวด์ออกไซด์Compound % การอ่านผลยกตัวอย่าง
จะได้ปริมาณ แคลเซียมออกไซด์ CaO 0.69% ค็อปเปอร์ออกไซด์ CuO 84.80%




ตามภาพเป็นภาพสายทองแดง Copper wire ตำแน่ง P2 (ตำแหน่งเกิดการสปาร์ค/อาร์ค)
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 50 เท่า สเกล 500 um (ไมครอน ) หรือ 0.5 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com



ตามภาพเป็นภาพสายทองแดง Copper wire ตำแน่ง P2 (ตำแหน่งเกิดการสปาร์ค/อาร์ค)
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 1,000 เท่า สเกล 10 um (ไมครอน ) หรือ 0.01 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com


วิเคราะห์สายทองแดง Copper wire Analysis ด้วยเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS/EDX วิเคราะห์สายทองแดง Copper wire เชิงคุณภาพ Qualitative Analysis ณ.ตำแหน่ง P2

ตามภาพบนที่กำลังขยาย 1000 เท่าเราจะวิเคราะห์ด้านเชิงคุณภาพ ทั้งภาพที่แสดง
ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จะได้ผลเป็นกราฟเชิงคุณภาพเหมือนภาพล่าง

เราจะได้ผลว่ามีองค์ประกอบธาตุหรือสาร C คาร์บอน,O ออกซิเจน,Ca แคลเซียม
,Cl ครอรีน ,Si ซิลิกอน และ Cu ทองแดง อยู่บนพื้นที่ที่เราวิเคราะห์ ตามภาพด้านบน

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX คลิก

กราฟเชิงคุณภาพแบบที่ 1 ตำแน่ง P2



กราฟเชิงคุณภาพแบบที่ 2 ตำแน่ง P2

จากผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เราทราบแล้วว่ามีธาตุอะไรบ้าง แต่ยังไม่ทราบว่า
มีปริมาณธาตุใดๆอยู่เท่าไร เราจะมาวิเคราะห์เชิงปริมาณกันต่อ
วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ Qualitative Analysis การวิเคราะห์เชิงปริมาณ เราจะได้ค่าเป็น Element % หรือเรียกอีกชื่อ Wt% (weight %)
หรืออีกชื่อ Con% (concentration%) และ Atomic% 

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX คลิก

ตามภาพล่างจะวิเคราะห์เชิงปริมาณแบบ
Quantitative method: ZAF ( 4 iterations).
 Analysed all elements and normalised results.

ตามผลด้านล่างเราจะวิเคราะห์ธาตุทั้งหมด ที่ตรวจพบเจอในสายทองแดง Copper wire 
ซึ่งเราจะได้องค์ประกอบธาตุหรือสาร
C คาร์บอน 0.62 % ,O ออกซิเจน 18.54 %,Ca แคลเซียม
1.22 %  ,Cl ครอรีน 3.23 % ,Si ซิลิกอน 0.25% และ Cu ทองแดง 76.14 %
ตามภาพล่างจะวิเคราะห์เชิงปริมาณแบบ 
Quantitative method: ZAF ( 3 iterations).
 Analysed elements combined with: O ( Valency: -2)
 Method : Stoichiometry Normalised results.
 Nos. of ions calculation based on  1 cations per formula.
(Condition เดียวกันกับด้านบนแต่เปลี่ยน Method )
จะได้ ค่าธาตุ อยู่ในรูปแบบคอมพาวด์ออกไซด์Compound % การอ่านผลยกตัวอย่าง
จะได้ปริมาณ แคลเซียมออกไซด์ CaO 1.53% ค็อปเปอร์ออกไซด์ CuO 86.54%


ตามภาพเป็นภาพสายทองแดง Copper wire ตำแน่ง P3 (ตำแหน่งเกิดออกไซด์)
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 50 เท่า สเกล 500 um (ไมครอน ) หรือ 0.5 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com



ตามภาพเป็นภาพสายทองแดง Copper wire ตำแน่ง P3 (ตำแหน่งเกิดออกไซด์)
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 1,000 เท่า สเกล 10 um (ไมครอน ) หรือ 0.01 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com



วิเคราะห์สายทองแดง Copper wire Analysis ด้วยเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS/EDX วิเคราะห์สายทองแดง Copper wire เชิงคุณภาพ Qualitative Analysis ณ.ตำแหน่ง P3

ตามภาพบนที่กำลังขยาย 1000 เท่าเราจะวิเคราะห์ด้านเชิงคุณภาพ ทั้งภาพที่แสดง
ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จะได้ผลเป็นกราฟเชิงคุณภาพเหมือนภาพล่าง

เราจะได้ผลว่ามีองค์ประกอบธาตุหรือสาร C คาร์บอน,O ออกซิเจน,Ca แคลเซียม
,Cl ครอรีน ,Si ซิลิกอน ,Fe เหล็ก และ Cu ทองแดง อยู่บนพื้นที่ที่เราวิเคราะห์ 
ตามภาพด้านบน 

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX คลิก

กราฟเชิงคุณภาพแบบที่ 1 ตำแน่ง P3


กราฟเชิงคุณภาพแบบที่ 2 ตำแน่ง P3
จากผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เราทราบแล้วว่ามีธาตุอะไรบ้าง แต่ยังไม่ทราบว่า
มีปริมาณธาตุใดๆอยู่เท่าไร เราจะมาวิเคราะห์เชิงปริมาณกันต่อ
วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ Qualitative Analysis การวิเคราะห์เชิงปริมาณ เราจะได้ค่าเป็น Element % หรือเรียกอีกชื่อ Wt% (weight %)
หรืออีกชื่อ Con% (concentration%) และ Atomic% 

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX คลิก

ตามภาพล่างจะวิเคราะห์เชิงปริมาณแบบ
Quantitative method: ZAF ( 4 iterations).
 Analysed all elements and normalised results.

ตามผลด้านล่างเราจะวิเคราะห์ธาตุทั้งหมด ที่ตรวจพบเจอในสายทองแดง Copper wire 
ซึ่งเราจะได้องค์ประกอบธาตุหรือสาร
C คาร์บอน 1.85 % ,O ออกซิเจน 22.89 %,Ca แคลเซียม 0.41 %  ,Cl ครอรีน 
13.22 % ,Si ซิลิกอน 0.18%, Fe เหล็ก 0.20% และ Cu ทองแดง 61.25 %

ตามภาพล่างจะวิเคราะห์เชิงปริมาณแบบ 
Quantitative method: ZAF ( 3 iterations).
 Analysed elements combined with: O ( Valency: -2)
 Method : Stoichiometry Normalised results.
 Nos. of ions calculation based on  1 cations per formula.
(Condition เดียวกันกับด้านบนแต่เปลี่ยน Method )
จะได้ ค่าธาตุ อยู่ในรูปแบบคอมพาวด์ออกไซด์Compound % การอ่านผลยกตัวอย่าง
จะได้ปริมาณ แคลเซียมออกไซด์ CaO 0.52% ค็อปเปอร์ออกไซด์ CuO 71.04%

ความแตกต่างระหว่างตำแหน่งที่ P1 และ P2 จะมีซิลิกอน Si เพิ่มขึ้นมา และตำแหน่ง P3
จะมี Fe เพิ่มขึ้นมา ส่วนปริมาณธาตุที่เหมือนกันจะมีปริมาณมากน้อยแตกต่างกันตามตำแหน่ง

หมั่นสำรวจดูหม้อแปลงมิเตอร์ที่บ้านดูนะครับ ว่าสายไฟหลวมหรือเปล่า และที่สำคัญต้อง
ให้ผู้รู้ และช่างไฟเช็คให้นะครับ ไม่งั้นจะต้องเสียเวลา เปลี่ยนมิเตอร์ใหม่เหมือนผมก็ได้
ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายประมาณพันกว่าบาทในการให้การไฟฟ้ามาเปลี่ยนมิเตอร์ใหม่ 
*********************************************************************
สุดท้ายขอขอบคุณ Do SEM ที่เปิดพื้นที่ให้ มากๆครับ ติดตามบทความต่อๆไปนะครับ
น้อมรับทุกคำชี้แนะครับ Mr.Golf (สิงห์เฒ่าซ่อมเซ็ม) manatsanan2007@hotmail.com
หรือมาพบปะพูดคุยได้ตามประสาได้ที่ BigC จ.สุรินทร์ (แอร์ฟรี 555 จริงๆนะครับ) หรือมา
ติดตามเป็นเพื่อนผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค ฝากคำถามได้ ตามลิงค์ด้านล่างเลยครับ
http://www.facebook.com/JeolOxfordInstruments?ref=hl

*********************************************************************
copper,copper wire,copper analysis,copper test,ทองแดง,ลวดทองแดง,สายไฟทองแดง,
วิเคราะห์ทองแดง,ทดสอบทองแดง,Cu
บทความน่าสนใจอื่นๆ 
สถานที่ให้และรับบริการ SEM,EDS : ใกล้ฟิวเจอร์รังสิต และดรีมเวิลด์
Do SEM บริการเครื่อง SEM กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น