วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

กระดาษชำระ หรือทิสชู

กระดาษชำระ หรือทิสชู

เราจะมาทดสอบถ่ายภาพทิสชู ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM กันค่ะ

กระดาษชำระที่เราเห็นวางจำหน่ายทั่วๆไป มีทั้งขนาดถูกมากจนไปถึงแพงมาก ความถูกหรือแพง
ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบและขบวนการผลิต ของแพงส่วนใหญ่เนื้อจะนุ่มเหนียว มีกลิ่นหอม ส่วนราคาถูกเนื้อ
ค่อนข้างจะบาง และหยาบ ความรู้สึกในการใช้ของแพงย่อมดีกว่าของถูกเป็นของธรรมดา



หน้าตาของกระดาษชำระ ถ้าเราดูด้วยตาเปล่า ก็พอจะเดาได้บ้าง ไม่ได้บ้างว่าจะเป็นของดีหรือไม่
จนกว่าจะได้ใช้และสัมผัสจริง




เป็นภาพถ่ายด้วยกล้องดิจิตอลราคาแสนถูกของ Do SEM ค่ะ ถ่ายในระยะใกล้ๆ ดูแล้วจะเห็น
การเรียงตัวของ เยื้อกระดาษ เรียงตัวกันสวยงามแทบไม่มีช่องว่าง กระดาษที่นำมาถ่ายเป็นทิสชู
ราคาปานกลาง ไม่แพง เนื้อไม่หนา ไม่นุ่มเท่าที่ควร




Do SEM เลยเอาเจ้ากระดาษทิชชูนี้ มาถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์กันดีกว่า ดูซิว่าจะเห็นอะไรที่ตาเปล่า
เราไม่สามารถมองเห็นได้

ตามภาพเป็นกระดาษทิชชูที่ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM
ที่กำลังขยาย X 100 เท่า เราก็จะเห็นการเรียงตัวของเยื้อกระดาษ แล้วละซิ ว่าไม่ได้เรียงตัวหนามาก
และมีช่องว่าง ระหว่างเนื้อเยื้อกระดาษด้วย ขนาดช่องว่างถ้าเทียบกับสเกลในภาพก็ 100 um ไมครอน
หรือ 0.1 มิลลิเมตร เล็กมากๆ ทำให้ตาเรามองไม่เห็น ถ้าทิชชูยิ่งบาง รูและช่องว่างก็ยิ่งมาก




ตามภาพเป็นกระดาษทิชชูที่ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM
ที่กำลังขยาย X 1000 เท่า เราก็จะเห็นการเรียงตัวของเยื้อกระดาษ ขนาดเส้นเล็กและใหญ่ไม่เท่ากัน
ขนาดเส้นเนื้อเยื้อกระดาษ ถ้าเทียบกับสเกลในภาพก็ 10 um ไมครอน หรือ 0.01 มิลลิเมตร เราก็
จะประมาณขนาดความกว้างของเนื้อเยื้อของกระดาษ ขนาดที่กว้างสุดก็ประมาณ 40um หรือ 0.04
มิลลิเมตร ส่วนเส้นที่ความกว้างเล็ก ก็จะมีขนาดประมาณ 10 um หรือ 0.01 มิลลิเมตรเลยทีเดียว




เครดิตข้อมูลเพิ่มเติมจาก : วิกิพีเดีย คลิก
ขนาดของกระดาษชำระ
เดิม ขนาดมาตรฐานของกระดาษชำระ ได้แก่ กว้าง 4.5 นิ้ว ยาว 4.5 นิ้ว ซึ่งยังคงเป็นขนาดมาตรฐานของกระดาษชำระที่ใช้กันในปัจจุบัน แต่บริษัทผู้ผลิตบางรายได้ปรับลดขนาดลง โดยยังคงความยาวไว้ที่ 4.5 นิ้ว แต่ปรับลดความกว้างลงเล็กน้อย[13] โดยปกติ กระดาษชำระแบบแผ่นเดียว 1 ม้วนจะประกอบด้วยกระดาษชำระประมาณ 1,000 แผ่น ในขณะที่กระดาษชำระแบบ 2 แผ่นประกบ 1 ม้วนจะประกอบด้วยกระดาษชำระประมาณ 500 แผ่น[14] แต่ทั้งนี้ในปัจจุบัน ผู้ผลิตได้ปรับเปลี่ยนขนาดเพื่อสร้างกลไกการตลาด เช่น ทำม้วนที่มีจำนวนแผ่นมากขึ้น หรือน้อยลง เพื่อกลยุทธ์ด้านราคา
ขั้นตอนการผลิตกระดาษชำระ

วัตถุดิบ

วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตกระดาษชำระ ได้แก่เยื่อกระดาษ ซึ่งได้แก่
  • เยื่อกระดาษบริสุทธิ์ ได้แก่เยื่อกระดาษที่ได้จากกระบวนการคัดแยกเยื่อจากต้นไม้
  • เยื่อเวียนใหม่ ได้แก่เยื่อกระดาษซึ่งผลิตจากกระดาษที่นำกลับมาใช้ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีในการจัดแยกเยื่อกระดาษจากสิ่งปฏิกูล และหมึกพิมพ์ และผ่านกระบวนการฟอกสีเพื่อให้ได้เยื่อกระดาษสีขาว สำหรับเป็นวัตถุดิบการผลิตต่อไป
โดยเยื่อกระดาษที่นำมาใช้ผลิตกระดาษชำระ กระดาษเช็ดหน้า ได้แก่ส่วนผสมของเซลลูโลสแวดดิ้ง โดยแหล่งนำเข้าเยื่อกระดาษเซลูโลสแวดดิ้งสำคัญของไทย คือ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี[15] แม้กระดาษชำระจะสามารถผลิตได้จากทั้งเยื่อกระดาษบริสุทธิ์ และเยื่อเวียนใหม่ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วกระดาษชำระจะผลิตมาจากเยื่อกระดาษบริสุทธิ์[16]

กระบวนการผลิตกระดาษชำระ

กระบวนการผลิตกระดาษชำระ[15] มีขั้นตอนดังนี้
  1. นำเยื่อกระดาษที่ได้คุณภาพตามต้องการ ในที่นี้อาจใช้เยื่อกระดาษบริสุทธิ์ เยื่อเวียนใหม่ หรือใช้ผสมผสานกัน ตามคุณภาพของกระดาษชำระที่ต้องการ
  2. นำเยื่อกระดาษที่ได้ มาตีผสมกับน้ำ โดยมีสัดส่วนน้ำร้อยละ 95 เยื่อกระดาษร้อยละ 5[17]
  3. นำน้ำผสมเยื่อกระดาษมารีดอบเป็นแผ่นกระดาษโดยผ่านเครื่องอบที่มีระดับความร้อนสูงกว่า 120 องศา C และความดัน 5 กก./ตร.ซม. ในขั้นตอนนี้ เทคโนโลยีการอบเป็นตัวช่วยทำให้กระดาษชำระมีความอ่อนนุ่ม ไม่แข็งกระด้าง[17]
  4. นำกระดาษที่ผ่านการรีบอบ มาผ่านกระบวนการทำให้ย่น เป็นลอนหรือเป็นจีบ ทำลายดุน และปรุรู
  5. นำกระดาษชำระที่ได้ เข้าสู่กระบวนการม้วน เป็นม้วนกระดาษชำระ แล้วบรรจุลงหีบเพื่อจัดจำหน่ายแก่ผู้บริโภค
กระบวนการผลิตเยื่อเวียนใหม่[15] มีขั้นตอนดังนี้
  1. การรวบรวมวัตถุดิบที่เป็นเศษกระดาษ
  2. นำมาตีให้เกิดเป็นเยื่อกระดาษที่ได้มาตรฐาน ณ อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส และความดัน 2 กก./ตร.ซม.
  3. กำจัดสารเคมีและสิ่งปลอมปนโดยเครื่องคัดแยก และฟอกสี
  4. นำเยื่อกระดาษที่ผ่านการคัดแยกแล้ว ผ่านกระบวนการทำความสะอาดอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ได้มาตรฐาน

สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับกระดาษชำระ

  • กระดาษชำระโดยส่วนใหญ่ทั่วโลก เป็นสีขาว[14]
  • ไต้หวัน เป็นประเทศแรกที่ใช้กระดาษชำระแบบแผ่นป๊อปอัพ[18]
  • ในขั้นตอนการผลิตกระดาษชำระ จะผสมน้ำร้อยละ 95 ขณะที่มีเยื่อกระดาษเพียงร้อยละ 5 ก่อนที่จะนำมาทำให้น้ำระเหยออกไปจนเหลือแผ่นกระดาษบาง ๆ[17]
  • สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศผู้ผลิตกระดาษชำระรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นประเทศที่มีการใช้กระดาษชำระมากที่สุดในโลกเช่นกัน โดยเฉลี่ยชาวอเมริกา 1 คนใช้กระดาษชำระวันละ 57 แผ่น หรือประมาณปีละ 20,805 แผ่น[19]
  • พิพิธภัณฑ์กระดาษชำระ เปิดให้เข้าชมได้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1999[20]
  • ในปี ค.ศ. 1973 เกิดเหตุการณ์กระดาษชำระขาดตลาดทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลานานถึง 3 สัปดาห์[20][10]
  • ในสงครามอ่าวเปอร์เซีย ช่วงปี ค.ศ. 1990 - ค.ศ. 1991 กองทัพสหรัฐอเมริกาพรางรถถังของกองทัพด้วยกระดาษชำระ[9]
  • มีเรื่องเล่าขำขันว่า ในช่วงแรกที่มีการใช้กระดาษชำระในประเทศรัสเซียนั้น ชาวรัสเซียใช้กระดาษชำระเพื่อทำความสะอาดมือ ภายหลังจากที่ใช้มือทำความสะอาดก้นของตนเอง[10]
  • กระดาษชำระ เป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งในปัจจัยหลาย ๆ ตัวที่ใช้ในการวัดระดับมาตรฐานโรงแรมไทย[21]
  • ในประเทศไทย มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือ มอก.ที่กำหนดเอาไว้ว่า สินค้าประเภทกระดาษชำระนั้นต้องมีความยาวไม่ต่ำว่า 31 เมตรต่อม้วน แต่ไม่มีผู้ผลิตกระดาษชำระรายใดที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกระดาษชำระ เราจึงไม่เห็นสัญลักษณ์ มอก.แปะอยู่ที่สินค้ายี่ห้อใดเลย[22]
  • ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย นิยมใช้น้ำในการชำระล้าง มากกว่าการใช้กระดาษชำระ[9][23




บทความน่าสนใจอื่นๆ
 

สะเก็ดแผล ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ คลิก
วิเคราะห์อิฐมวลเบา อิฐเบา อิฐขาว ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM,EDS/EDX คลิก 

 แป้งเด็ก แป็งเย็น ผงแป้ง ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM และวิเคราะห์ธาตุด้วย EDS,EDX คลิก 
เทคนิคการวิเคราะห์ธาตุด้วย EDS หรือ EDX, WDX หรือ WDS, และ EPMA แบบใหนดีกว่ากัน คลิก 
วิเคราะห์เส้นผม วิเคราะห์เส้นขน คลิก
มหัศจรรย์ผึ้งน้อย คลิก
จุลินทรีย์ คือสิ่งสิ่งมีชีวิตที่สายตาเปล่า คนเรามองไม่เห็น คลิก
การวิเคราะห์เส้นใย สิ่งทอ เส้นไหม เส้นใยสังเคราะห์ fibers คลิก
การวิเคราะห์ความเสียหายวัสดุและอุปกรณ์ ในวงการอิเล็กทรอนิกส์ เซมิคอนดักเตอร์ ฮาร์ดดิสก์ ไฟฟ้า คลิก
แร่ธาตุในข้าวหอมมะลิ คลิก
ผงชูรส และผงปรุงรส คลิก

วิเคราะห์สิว ด้วยกล้องจุลทรรศน์ คลิก 
 ความมหัศจรรย์ของหนวดหรือเคราฤาษี คลิก
ปากดีของมดดำ คลิก

ผมมันชั่ว ผมมันเลว คลิก
ฟองน้ำ ฟองน้ำ คลิก

เชื่อหรือไม่ว่าคือขนมปัง คลิก
แกงไก่หน่อไม้ดอง
คลิก
มาจุดธูปขอหวยกัน คลิก
พระเครื่องเก่าแก่ คลิก
บ้านและสวนสวย คลิก


 


ที่มา : http://www.dosem24hr.com/index.php

สถานที่ให้และรับบริการ SEM,EDS : ใกล้ฟิวเจอร์รังสิต และดรีมเวิลด์
Do SEM บริการเครื่อง SEM กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด
We are a leading Sevice of Scientific, Industrial Instrument and Scanning electron microscope SEM,EDS,EDX,SemAfore,Sputter coater. We operate in Thailand countries.Our service technicians work in the Do SEM Lab and field with the customers. Our well-trained highly skilled technicians are always ready to offer the best technical support and advice. Let our service help you eliminate downtime and improve your quality. our service help you all 24 hr.
Do SEM บริการเครื่องจุลทรรศน์ อิเล็กตรอนไมโครสโคป กำลังขยายสูง, บริการเครื่องเซ็ม, รับทำเซ็ม, ให้บริการ SEM, ให้บริการ EDS, ให้บริการ SemAfore, ให้บริการ Sputter coater, ทำSEM, ทำEDS, ทำSemAfore, ทำSputter coater, ดูSEM, ดูEDS, ดูSemAfore, ฉาบทองSputter coater, รับทำSEM, รับวิเคราะห์ธาตุด้วย EDS, รับฉาบเคลือบทอง ,ภาพดิจิตอลไฟล์ SemAfore ไฟล์BMP,JPEG,TIFF, กล้องจุลทรรศอิเล็กตรอน, กล้องจุลทรรศอิเล็กตรอนกำลังขยายสูง, กล้องอิเล็กตรอนไมโครสโคป, ทำ Line scan, ทำmapping, ทำ Auto beam, ทำ Quant line scan, ทำ Quant mapping, วัดขนาดภาพ SEM, วัดขนาดภาพเซ็มด้วยsemafore, รับบริการวิเคราะห์ะธาตุ EDS OXFORD เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Qualitative and Quantitative analysis) ตั้งแต่ธาตุ Bโบรอน- U ยูเรเนียม Detection limit 0.1% ,JEOL SEM, อัตราค่าบริการเครื่อง EDS,อัตราค่าบริการ SEM, อัตราค่าบริการ SEMAFORE, อัตราค่าบริการ SPUTTER COATER, อัตราค่าบริการกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป, อัตราค่าบริการเครื่องเซ็ม, บริการทำmapping, บริการทำlinescan, บริการsem 24ชั่วโมงไม่มีหยุด,

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น