วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิเคราะห์ส้มจิ๊ด ด้วยกล้องจุลทรรศน์ฯ SEM และ EDS,EDX

ส้มจิ๊ด ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์ฯ SEM และวิเคราะห์ธาตุด้วย EDS,EDX
การถ่ายภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป ส่วนใหญ่ภาพที่เราเห็นจะเป็นภาพ SEI ตัวอย่างที่ถ่ายจะต้องนำไฟฟ้า ถ้าไม่นำก็ต้องทำให้นำไฟฟ้า ด้วยวิธีการเอาไปฉาบเคลือบทอง
ทองคำขาว แพทตินัม
คาร์บอน และอื่นๆให้นำไฟฟ้าได้ แล้วใช้กล้องในโหมดความเป็นสูญญากาศ
สูงในการถ่าย
หรือ High vacuum SEM ในระดับสูญญากาศ 9.6x10-5 Pa.(พาสคาล)

แต่เรามาดูการถ่ายภาพกับตัวอย่างที่ไม่นำไฟฟ้ากัน ตัวอย่างที่เรานำมาถ่ายกันก็คือส้มจี๊ด แต่เป็น
ผลที่ยังเล็กๆอยู่นะค่ะ แล้วใช้กล้องในโหมดความเป็นสูญญากาศต่ำในการถ่าย หรือ
Low vacuum SEM เรารู้จักในชื่ออื่นๆว่า LV SEM, VP SEM, N SEM, E SEM และ WET SEM
ตามแต่ยี่ห้อของกล้องจุลทรรศน์ฯ
Low vacuum ในระดับสูญญากาศ 6 - 270 Pa.(พาสคาล) บางรุ่นจะมากกว่า 270 Pa.



โหมดการถ่ายภาพ ภาพจะเป็น BEI COMPO, BEI COMPO+Shadows, BEI TOPO และ BEI TOPO+Shadows
(www.dosem24hr.com)

ลักษณะส้มที่เรานำมาวิเคราะห์
ตามภาพ เป็นสายพันธุ์ที่เราเห็นทั่วไป กับร้านขายต้นไม้ผล ต้นไม้ประดับทั่วไป



อีกภาพ



แต่ลักษณะส้มที่เรานำมาถ่าย เราจะศึกษากันที่ผลลูกเล็กกันค่ะ ตามภาพล่างค่ะ



การเตียมตัวอย่างไม่ยากค่ะ แค่เก็บส้มอย่างระมัดระวัง อย่างให้มือโดนบริเวณที่เราจะถ่ายภาพ
และวิเคราะห์ธาตุ
ตามภาพ เราจะนำผลส้ม มาติดกับแท่นวางตัวอย่าง STUB ที่ไม่นำไฟฟ้าเหมือนกัน ขนาดของ
ผลประมาณครึ่งเซ็น 5-6 มิลลิเมตร


เราจะศึกษาผลส้ม 2ด้าน ด้านข้างและด้านบน เรานำผลส้มติดด้วยเทปกาวธรรมดา ไม่ต้องใช้
เทปกาวที่นำไฟฟ้าได้ ตามภาพที่เห็นเป็นใบ ไม่ใช่ใบส้มนะค่ะ แต่เป็นใบหัวใจล้านดวงจะเป็น
บทความต่อไปค่ะ




ตามภาพเป็นส้มจี๊ด

ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 15 เท่า สเกล 1 mm มิลลิเมตร ถ่ายในโหมด Low vacuum ภาพแบบ BEI COMPO
แรงดันของสูญญากาศ 40 ถึง 60 Pa. พาสคาล

ถ่ายโดย www.dosem24hr.com



ปรับ Contrast และ Brightness ของภาพเพิ่มเติม ตามภาพเราจะเห็นคราบและเม็ดสีขาวเกาะติดอยู่
แต่เรายังไม่ทราบว่าเป็นอะไร เราจะวิเคราะห์ EDS,EDX อีกครั้งทีนี้ก็จะทราบแล้วละค่ะ ว่าเป็นอะไร



ตามภาพเป็นขั้วส้มจี๊ด
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 35 เท่า สเกล 500 um (ไมครอน) หรือ 0.5 มิลลิเมตร ถ่ายในโหมด Low vacuum ภาพแบบ BEI COMPO
แรงดันของสูญญากาศ 40 ถึง 60 Pa. พาสคาล

ถ่ายโดย www.dosem24hr.com



ตามภาพเป็นขั้วส้มจี๊ด
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 75 เท่า สเกล 100 um (ไมครอน) หรือ 0.1 มิลลิเมตร ถ่ายในโหมด Low vacuum ภาพแบบ BEI COMPO
แรงดันของสูญญากาศ 40 ถึง 60 Pa. พาสคาล

ถ่ายโดย www.dosem24hr.com



ตามภาพเป็นผิวส้มจี๊ด
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 200 เท่า สเกล 100 um (ไมครอน) หรือ 0.1 มิลลิเมตร ถ่ายในโหมด Low vacuum ภาพแบบ BEI COMPO แ
รงดันของสูญญากาศ 40 ถึง 60 Pa. พาสคาล

ถ่ายโดย www.dosem24hr.com



ตามภาพเป็นด้านบนส้มจี๊ด ด้านที่ดอกส้มหลุดออกไป
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 50 เท่า สเกล 500 um (ไมครอน) หรือ 0.5 มิลลิเมตร ถ่ายในโหมด Low vacuum ภาพแบบ BEI COMPO
แรงดันของสูญญากาศ 40 ถึง 60 Pa. พาสคาล

ถ่ายโดย www.dosem24hr.com



ตามภาพเป็นด้านบนส้มจี๊ด ด้านที่ดอกส้มหลุดออกไป
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 75 เท่า สเกล 100 um (ไมครอน) หรือ 0.1 มิลลิเมตร ถ่ายในโหมด Low vacuum ภาพแบบ BEI COMPO
แรงดันของสูญญากาศ 40 ถึง 60 Pa. พาสคาล

ถ่ายโดย www.dosem24hr.com



เราจะวิเคราะห์ผิวของลูกส้มกันดู ตำแหน่งที่เราจะวิเคราะห์คือตำแหน่งตามภาพด้านล่างค่ะ



วิเคราะห์เชิงคุณภาพเราจะได้ สเป็คตรัมตามภาพ
ผลการวิเคราะห์จุดนี้จะพบ O ออกซิเจน,Si ซิลิกอน,Ca แคลเซียม ,Al อลูมิเนียม, K โปแตสเซียม,
C คาร์บอน และ S ซัลเฟอร์




วิเคราะห์เชิงปริมาณเราจะได้ ผลตามภาพยกตัวอย่างจะมีปริมาณธาตุ K โปแตสเซียม อยู่ 2.24 % (ดู Element %)



วิเคราะห์เชิงปริมาณ แบบแท่งกราฟเราจะได้ ผลตามภาพ




ตามจุดที่เราวิเคราะห์ ถ้าเราวิเคราะห์แบบ Mapping ต่อเราก็จะทราบตำแหน่งของแต่ละธาตุได้
ตามภาพ ช่องซ้ายสุดบนจะเป็นภาพ BEI COMPO
วิธีการดู Mapping เราจะดูช่องของภาพ BEI COMPO เทียบกับช่องธาตุแต่ละตัว ตามภาพเราทำการ
map ทั้งหมด 6 ธาตุ

ยกตัวอย่างเราดูช่อง S ซัลเฟอร์ บริเวณใดที่สีโทนสว่างจะมีซัลเฟอร์อยู่ สว่างมากมีปริมาณมาก
สว่างน้อยมีน้อยสีมืดหรือดำ คือตำแหน่งนั้นๆไม่มีซัลเฟอร์ ตามภาพช่องS ซัลเฟอร์ เทียบกับภาพ
BEI COMPO แล้วจะเป็นตำแหน่งเม็ดสว่างด้านบนขวามือบน ถ้าเทียบกับตำแหน่ง Ca แคลเซียมแล้ว
จะอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน


โอกาสหน้าจะเอาภาพ ใบของหัวใจล้านดวงมาถ่ายให้เห็นถึงลักษณะปากใบ กับบทความหน้าค่ะ
**************************************************************************
ส้ม,ส้มจี๊ด,ผิวส้ม,วิเคราะห์ธาตุส้ม,ภาพส้มจากSEM,ภาพถ่ายส้มจากSEM


บทความน่าสนใจอื่นๆ

ส้มจิ๊ดถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์ฯ SEM และวิเคราห์ธาตุด้วย EDS,EDX คลิก

วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX คลิก
สะเก็ดแผล ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ คลิก
วิเคราะห์อิฐมวลเบา อิฐเบา อิฐขาว ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM,EDS/EDX คลิก
แป้งเด็ก แป็งเย็น ผงแป้ง ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM และวิเคราะห์ธาตุด้วย EDS,EDX คลิก 

 เทคนิคการวิเคราะห์ธาตุด้วย EDS หรือ EDX, WDX หรือ WDS, และ EPMA แบบใหนดีกว่ากัน คลิก
วิเคราะห์เส้นผม วิเคราะห์เส้นขน คลิก
มหัศจรรย์ผึ้งน้อย คลิก

จุลินทรีย์ คือสิ่งสิ่งมีชีวิตที่สายตาเปล่า คนเรามองไม่เห็น คลิก
การวิเคราะห์เส้นใย สิ่งทอ เส้นไหม เส้นใยสังเคราะห์ fibers คลิก
 วิเคราะห์ความเสียหายวัสดุและอุปกรณ์ ในวงการอิเล็กทรอนิกส์ เซมิคอนดักเตอร์ ฮาร์ดดิสก์ ไฟฟ้า คลิก 
แร่ธาตุในข้าวหอมมะลิ คลิก
ผงชูรส และผงปรุงรส คลิก
วิเคราะห์สิว ด้วยกล้องจุลทรรศน์ คลิก
ความมหัศจรรย์ของหนวดหรือเคราฤาษี คลิก
ปากดีของมดดำ คลิก

 ผมมันชั่ว ผมมันเลว คลิก
ฟองน้ำ ฟองน้ำ คลิก

 เชื่อหรือไม่ว่าคือขนมปัง คลิก
แกงไก่หน่อไม้ดอง คลิก
  มาจุดธูปขอหวยกัน คลิก
พระเครื่องเก่าแก่ คลิก
บ้านและสวนสวย คลิก
ที่มา : http://www.dosem24hr.com/index.php
สถานที่ให้และรับบริการ SEM,EDS : ใกล้ฟิวเจอร์รังสิต และดรีมเวิลด์
Do SEM บริการเครื่อง SEM กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX

วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX

(** บทความนี้ขอขอบคุณ คุณกลอ์ฟ Mr.Golf มากๆค่ะ จากใจ Do SEM Feb 2,2013 **)
ปกติเครื่องวิเคราะห์ EDS หรือ EDX ชื่อย่อมาจาก Energy Dispersive X-ray Spectrometer
มักจะนิยมใช้และติดตั้งบนเครื่อง จุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด SEM
มากที่สุด เป็นเครื่องมือประเภท Micro Analysis สามารถกำหนดจุดในการวิเคราะห์ได้ 2 แบบ
1. Area Analysis วิเคราะห์เป็นพื้นที่ ตารางไมครอน um2
2. Point Analysis วิเคราะห์เป็นจุด จุดวิเคราะห์เล็กเป็นระดับ ไมครอน เล็กถึงระดับนาโน



* มีคำถาม อย่างมากมายที่ผมได้ยินมา ตลอดชีวิตการทำงานเกือบ 20ปี กับทุกท่านที่ได้ใช้ EDS/EDX
ว่า Beam
ยิงลงมาบนตัวอย่าง มีความกว้างDia. เท่าไร มีขนาดลึกเท่าไร ผมมีคำตอบ ติดตามบทความของ Mr.Golf สิงห์เฒ่าซ่อมเซ็ม ผ่านช่องทางของ Do SEM ต่อไปนะครับ (รับจ๊อบนอกจากทำนาครับ 5555)

ตามภาพ EDS หรือ EDX ติดตั้งบนเครื่อง SEM




การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ Qualitative Analysis

คือการวิเคราะห์หาว่าตัวอย่างที่เราวิเคราะห์มีธาตุอะไรบ้าง สามารถวิเคราะห์ได้ตั้งแต่ธาตุ B โบรอน - U
ยูเรเนียม
การวิเคราะห์เชิงปริมาณ Quantitative Analysis
คือการวิเคราะห์หาว่าตัวอย่างที่เราวิเคราะห์มี % ธาตุอยู่ปริมาณเท่าไร โดยสามารถวิเคราะห์หา % ออกมาได้ 2 แบบ
ตัวอย่าง Minerral/Nature Standard : WOLLASTONITE CaSiO3

1.แบบ Pure Element เราจะได้ผล % ธาตุ หรือ % Element เป็นธาตุๆ
เช่น ตามตัวอย่าง CaSiO3 ที่เราวิเคราะห์ มี% Ca แคลเซียม 34.30% Si ซิลิกอน 23.8 % O ออกซิเจน
41.30 % และ Fe เหล็ก 0.05% รวมแล้วเป็น 99.45 % (ผลจากเครื่อง WDX ตามใบ Certificate)

2.แบบ Compound Element จะบอก% ธาตุอยู่ในรูปออกไซด์
เช่นตามตัวอย่าง CaSiO3 วิเคราะห์ มี% CaO แคลเซียมออกไซด์ 48.00% SiO2 ซิลิกอนออกไซด์
50.94 % FeO เหล็กออกไซด์ 0.11% MgO แมกนีเซียมออกไซด์ 0.15% และ FeO เหล็กออกไซด์
0.11 % รวมแล้วเป็น 99.29 % (ผลจากเครื่อง EPMA ตามใบ Certificate)
วิเคราะห์แบบนี้เหมาะกับตัวอย่างที่เป็น Oxide,Mineral,Nature,Compound,Sulfides,Rare earth,
Glass,Geology,Ceramic Material-Related,Semiconductor,Super Conductor,Magnetic Material,
Display Material เป็นต้น


** ถ้าใครมี INCA EDS มีออปชั่น Synthesis ลองใส่สูตร Standard และ Condition ของเราเข้าไปเราก็
จะได้ % ธาตุออกมาทันที โดยเราไม่ต้องยิงตัวอย่าง หรือ Standard เราจริงๆได้ และค่าที่ได้ใกล้เคียงกับ
ผลที่เรายิงจริงๆครับ (INCA EDS ออปชั่น Synthesis บทความต่อไปครับ)

ใหนๆก็พูดถึงตัวอย่าง Minerral/Nature Standard : WOLLASTONITE CaSiO3 กันแล้ว
ผมก็จะใช้ตัวอย่างนี้ลองวิเคราะห์จริงกับเครื่อง EDS/EDX ว่าเป็นไง ผลใกล้เคียงกันไหม
*** ขอขอบคุณ Mr.David Lee (Do SEM) เจ้าของ Standard ครับ

ตามภาพเป็น WOLLASTONITE CaSiO3 ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM
ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 35 เท่า สเกล 500 um (ไมครอน) หรือ 0.5 มิลลิเมตร เมื่อนำสเกลเทียบกับขนาดแผลแล้วจะมีขนาด 1x2 มิลลิเมตรถ่ายในโหมด High vacuum ภาพแบบ SEI ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

หน้าตา Standard WOLLASTONITE CaSiO3 ที่ถ่ายด้วยเครื่อง SEM


การเก็บ Standard เก็บไว้ไม่ค่อยดี ไม่ได้เก็บไว้กับตู้ Dry Cabinet เก็บไว้ตู้ธรรมดานานมาก ปกติ Standardที่เราซื้อมาจะมีอายุ 1ปี หลังจากนั้นจะต้องส่งกลับบริษัทผู้ผลิต เพื่อขัดทำความสะอาดและออกใบรับรองให้ใหม่บางที ค่าใช้จ่ายแพงกว่าซื้อใหม่ แต่ถ้าเป็น Standard Box มี 30-50 ตัวขึ้นไปก็คุ้มจะส่งกลับครับ แต่ก็ประหยัดตังส์กว่าซื้อใหม่แค่ 20-30% ครับ

ตามภาพเป็น WOLLASTONITE CaSiO3 ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM  ที่ 20kv (กิโลโวลท์) กำลังขยาย x 100 เท่า สเกล 100 um (ไมครอน) หรือ 0.1 มิลลิเมตร
เมื่อนำสเกลเทียบกับขนาดแผลแล้วจะมีขนาด 1x2 มิลลิเมตรถ่ายในโหมด High vacuum ภาพแบบ SEI
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com



การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ

การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ แค่บอกตัวอย่างเรามีธาตุ Ca แคลเซียม Si ซิลิกอน O ออกซิเจน Fe เหล็ก
Mg แมกนีเซียม และมี Mn แมงกานีส แต่ไม่ได้บอกว่าแต่ละธาตุมีกี่ %

ตามภาพเป็น Spectrum ที่ยิงแบบเป็นจุด Point Analysis



การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ
ตามภาพเป็น Spectrum ที่ยิงแบบเป็นพื้นที่ Area Analysis



ตามภาพบนทั้ง การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ แบบ Point/Area Analysis เราดูภาพแทบจะไม่แตกต่างกัน
แต่ 2 จุดถ้าเราวิเคราะห์เชิงปริมาณจะแตกต่างกัน หรือแม้แต่วิเคราะห์เหมือนกันแค่เปลี่ยนจุด ก็ต่างแล้ว
ละครับ



วิเคราะห์เชิงปริมาณ

ตามภาพล่างเป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ พื้นที่จุดที่ 1

1.แบบ Pure Element เราจะได้ผล % ธาตุ หรือ % Element เป็นธาตุๆ
CaSiO3 ที่เราวิเคราะห์ มี% Ca แคลเซียม 41.37 (34.30%) Si ซิลิกอน 22.10 (23.8 %)
O ออกซิเจน 35.97 (
41.30 %) Fe เหล็ก 0.08 (0.05%) Mg แมกนีเซียม 0.04 %
Mn แมงกานีส 0.44 % รวมแล้วเป็น 100 % (normalization)


**** ค่าในวงเล็บคือค่าจากเครื่อง WDX
ผลด้านล่าง ผลจากเครื่อง EDS/EDX www.dosem24hr.com




ตามภาพล่างเป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ แบบ Point จุดที่ 1



ตามภาพเป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ แบบกราฟแท่ง พื้นที่จุดที่ 2





วิเคราะห์เชิงปริมาณ
ตามภาพล่างเป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ พื้นที่จุดที่ 1 (เปลี่ยนเป็นผลจาก Element% เป็น Compound %)

2.แบบ Compound Element จะบอก% ธาตุอยู่ในรูปออกไซด์
CaSiO3 วิเคราะห์ มี% CaO แคลเซียมออกไซด์ 54.54 (48.00%) SiO2 ซิลิกอนออกไซด์ 44.74
( 50.94 %) FeO เหล็กออกไซด์ 0.12 (0.11% ) MgO แมกนีเซียมออกไซด์ 0.06 (0.15%)
MnO แมกนีเซียมออกไซด์ 0.54 และ FeO เหล็กออกไซด์ 0.12
(0.11 %)
รวมแล้วเป็น 100 % (ผลในวงเล็บ จากเครื่อง EPMA ตามใบ Certificate)

ผลด้านล่าง ผลจากเครื่อง EDS/EDX www.dosem24hr.com






ตามภาพเป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ แบบกราฟบาร์ พื้นที่จุดที่ 1
การวิเคราะห์แบบ Compound % เราจะได้ผล Element % มาด้วยตามภาพบน แต่ผล Element % แบบนี้
จะไม่เท่ากับเราทำ Element % อย่างเดียวก่อนหน้านะครับ และแบบนี้ค่าใกล้เคียงกับใบ Certificate ครับ



Standard ที่เรานำมาทดสอบ ใบรับรอง และอ้างอิงจะเป็นคนละตัว และผลมาจากทั้ง EDS/EDX ,WDX
และ EPMA แต่ผลที่ได้มีค่าใกล้เคียงกันครับ

ในเมืองไทยส่วนใหญ่ หน่วยงานที่รับวิเคราะห์ จะวิเคราะห์ผลเป็น Element % ที่บอก% ธาตุเป็นตัวๆไป
จะไม่ค่อยมีการวิเคราะห์แบบ Compound % กันครับ แต่ที่นี้รับครับ www.dosem24hr.com ผมจะแนะ
วิธีการวิเคราะห์แบบนี้กับ Do SEM อย่างละเอียดไว้แล้วครับ

ส่วนใหญ่ที่ใช้ และให้งานบริการ ในบ้านเราวิเคราะห์ Element % 99 % และ Compound % 1% ครับ

สุดท้ายขอบคุณน้องๆทีมงาน Do SEM ที่ให้ Mr.Golf (สิงห์เฒ่าซ่อมเซ็ม) มีโอกาสนำความรู้ อันน้อยนิด
มาแชร์ครับ ขอบคุณครับ ขอตัวไปทำนาต่อนะครับ รับคำชี้แนะทุกท่านครับทาง
manatsanan2007@gmail.com


............................................................................................................................
Quant,SEM Quant,Qulitative analysis,Quantitative analysis,Element %,Compound %,
% ธาตุ,วิเคราะห์ธาตุ,วิเคราะห์%ธาตุ,วิเคราะห์เชิงคุณภาพ,วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ


บทความน่าสนใจอื่นๆ

วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX
คลิก
สะเก็ดแผล ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ คลิก
วิเคราะห์อิฐมวลเบา อิฐเบา อิฐขาว ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM,EDS/EDX คลิก
แป้งเด็ก แป็งเย็น ผงแป้ง ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM และวิเคราะห์ธาตุด้วย EDS,EDX คลิก
เทคนิคการวิเคราะห์ธาตุด้วย EDS หรือ EDX, WDX หรือ WDS, และ EPMA แบบใหนดีกว่ากัน คลิก
วิเคราะห์เส้นผม วิเคราะห์เส้นขน คลิก มหัศจรรย์ผึ้งน้อย คลิก

จุลินทรีย์ คือสิ่งสิ่งมีชีวิตที่สายตาเปล่า คนเรามองไม่เห็น คลิก
การวิเคราะห์เส้นใย สิ่งทอ เส้นไหม เส้นใยสังเคราะห์ fibers คลิก
วิเคราะห์ความเสียหายวัสดุและอุปกรณ์ ในวงการอิเล็กทรอนิกส์ เซมิคอนดักเตอร์ ฮาร์ดดิสก์ ไฟฟ้า คลิก 
 แร่ธาตุในข้าวหอมมะลิ คลิก
ผงชูรส และผงปรุงรส คลิก
วิเคราะห์สิว ด้วยกล้องจุลทรรศน์ คลิก
ความมหัศจรรย์ของหนวดหรือเคราฤาษี คลิก
ปากดีของมดดำ คลิก

ผมมันชั่ว ผมมันเลว คลิก
ฟองน้ำ ฟองน้ำ คลิก

เชื่อหรือไม่ว่าคือขนมปัง คลิก
แกงไก่หน่อไม้ดอง คลิก มาจุดธูปขอหวยกัน คลิก
พระเครื่องเก่าแก่ คลิก
บ้านและสวนสวย คลิก
ที่มา : http://www.dosem24hr.com/index.php

สถานที่ให้และรับบริการ SEM,EDS : ใกล้ฟิวเจอร์รังสิต และดรีมเวิลด์
Do SEM บริการเครื่อง SEM กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด